กลยุทธ์การพัฒนาที่พักแบบโฮมสเตย์ในพื้นที่ล้านนาตะวันออกสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง

Main Article Content

พงษ์พิพัฒน์ เสน่ห์ดี

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาที่พักแบบโฮมสเตย์ในพื้นที่ล้านนาตะวันออกสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง โดยมีการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ทฤษฎีและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่พักแบบโฮมสเตย์ ซึ่งพบว่ากลยุทธ์การพัฒนาที่พักแบบโฮมสเตย์ในพื้นที่ล้านนาตะวันออกสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง จะต้องกำหนดกลยุทธ์ภายใต้ฐานทรัพยากรชุมชน ดังนี้ 1) กลยุทธ์เชิงรุก คือ ส่งเสริมบุคลากรหรือคนในชุมชนให้มีทักษะความรู้ด้านการจัดการที่พักแบบโฮมสเตย์ และส่งเสริมการเสนอเพื่อขอรับการประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้มาใช้บริการ 2) กลยุทธ์เชิงพัฒนา คือ การมีส่วนร่วมในการวางแผน ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ และสร้างกฎระเบียบในการบริหารจัดการร่วมกัน 3) กลยุทธ์เชิงรับ คือ เน้นการบริการตามแบบวิถีชีวิตของคนในชุมชนเพื่อสร้างความแตกต่างด้านการบริการ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการสร้างตราสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน และ 4) กลยุทธ์เชิงพลิกแพลง คือ การสร้างเครือข่ายกับชุมชนและที่พักแบบโฮมสเตย์อื่นๆ เน้นการตกแต่งหรือออกแบบที่พักให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน และส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.(2545). เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ภายใต้โครงการส่งเสริม และพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2545. กรุงเทพฯ: กองอนุรักษ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
__________.(2561). ททท. เปิดแคมเปญ AMAZING THAILAND GO LOCAL เร่งกระแสท่องเที่ยว 55 เมืองรอง
หลังรัฐบาลประกาศลดหย่อนภาษี สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2562 จาก https://thai.tourismthailand.org/
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.(2549).การคิดเชิงมโนทัศน์. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.
ฑิตยา สุวรรณชฏ.(2522). พัฒนาสังคม : ขอบเขตและแนวความคิด. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ 3.
สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธงชัย สันติวงษ์.(2536).หลักการบริหาร คิดและทำอย่างผู้จัดการใหญ่. กรุงเทพฯ:
บริษัท เอเชียเพรส จำกัด.
พชรวัฒน์ เส้นทอง.(2560).กลยุทธ์การบริหารจัดการองค์การทางสังคม : กรณีวัดในประเทศไทย.
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี.(2534).การพัฒนาชุมชนจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล็อค
ราชกิจจานุเบกษา.(2555).ประกาศกรมการท่องเที่ยว เรื่อง กำหนดมาตรฐานบริการท่องเที่ยวมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย
พ.ศ. 2554 เล่ม 129 ตอนพิเศษ 26 ง หน้า 59 ลงวันที่ 31 มกราคม 2555.
วิทยากร เชียงกูล.(2527).พัฒนาชุมชน-พัฒนาสังคม. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริเพ็ญ เยี่ยมจรรยา.(2556).ปัจจัยที่เอื้อต่อศักยภาพการทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ประกอบการโฮมสเตย์
อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม.รายงานการวิจัย วิทยาลัยนานาชาติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ
ศุทธิกานต์ คงคล้าย และธัญเทพ ยะติวัฒน์.(2559).ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยว
ชาวไทยในจังหวัดภูเก็ต.วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, จังหวัดนครสวรรค์.
แสงพิรุณ และ สุมนรตี นิ่มเนติพันธ์.(2558).ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดบริการบ้านพักแบบโฮมสเตย์ในอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, จังหวัดนครสวรรค์
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์.(2549).การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย.(2561).ท่องเที่ยววิถีไทยสไตล์ล้านนาตะวันออก กิ๋นลำ แอ่วม่วน “เชียงราย-พะเยา-แพร่-น่าน”.
สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2562 จาก http://www.lifetimemags.com
สำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2.(2561).แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2
พ.ศ. 2561-2565. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562 จาก http://www.osmnorth-n2.moi.go.th/main#/develop/2
สำนักพัฒนาการท่องเที่ยว.(2551).มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย. กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
Department of Education and Early Childhood Department.(2015).Information for Homestay Providers and Third Parties.www.education.vic.gov.au
Lashley & Morrison.(2000).In Search of Hospitality: Theoretical Perspectives and Debates, Oxford: Butterworth_Heinemann, 200-218.
Lynch & Mac Whannell.(2000).Home and Commercialized Hospitality. In Search of Hospitality:
Theoretical Perspectives and Debates, Oxford: Butterworth_Heinemann, 100-117.
Queensland.(2015).Education Queensland International Risk Management Strategy for Homestay Providers. http://pbc-shs.eq.edu.au