ศักยภาพการแก้ไขปัญหาวิกฤติฝุ่นควันขนาดจิ๋ว (PM2.5) ขององค์การบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาระดับศักยภาพการแก้ไขปัญหาวิกฤติฝุ่นควันขนาดจิ๋ว (PM2.5) ขององค์การบริหารส่วนตำบล 2) เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการแก้ปัญหา คุณลักษณะการแก้ปัญหา และทักษะในการปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบล และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ศักยภาพการแก้ไขปัญหาวิกฤติฝุ่นควันขนาดจิ๋ว (PM2.5) ขององค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานจำนวน 166 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับศักยภาพการแก้ไขปัญหาวิกฤติฝุ่นควันขนาดจิ๋ว (PM2.5) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) ระดับแรงจูงใจในการแก้ปัญหา คุณลักษณะการแก้ปัญหา ทักษะในการปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (3) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณศักยภาพการแก้ไขปัญหาวิกฤติฝุ่นควันขนาดจิ๋ว (PM2.5) โดยใช้ปัจจัยสถานภาพส่วนบุคคล ระดับแรงจูงใจในการแก้ปัญหา คุณลักษณะการแก้ปัญหา และทักษะในการปฏิบัติ เป็นตัวแปรพยากรณ์ศักยภาพการแก้ไขปัญหาวิกฤติฝุ่นควันขนาดจิ๋ว (PM2.5) พบว่า การศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ตำแหน่ง รายได้ แรงจูงใจในการแก้ปัญหา คุณลักษณะการแก้ปัญหา และทักษะในการปฏิบัติ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการแก้ไขปัญหาวิกฤติฝุ่นควันขนาดจิ๋ว (PM2.5) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สามารถพยากรณ์ศักยภาพการแก้ไขปัญหาวิกฤติฝุ่นควันขนาดจิ๋ว (PM2.5) ได้ร้อยละ 87 สร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนเดิม (ศักยภาพการแก้ไขปัญหาวิกฤติฝุ่นควันขนาดจิ๋ว (PM2.5) =.804 + .410 (ระดับการศึกษา) + .085 (ประสบการณ์ทำงาน) + .110 (ตำแหน่ง) + .610 (รายได้) + .213 (แรงจูงใจในการแก้ปัญหา) + .192 (คุณลักษณะการแก้ปัญหา) + .291 (ทักษะในการปฏิบัติ) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Zศักยภาพการแก้ไขปัญหาวิกฤติฝุ่นควันขนาดจิ๋ว (PM2.5) = 1.155 (Zระดับการศึกษา) + 3.882 (Zประสบการณ์ทำงาน) + 0.224 (Zตำแหน่ง) + 3.825 (Zรายได้) + 0.254 (Zแรงจูงใจในการแก้ปัญหา) + 0.203 (Zคุณลักษณะการแก้ปัญหา) + 0.433 (Zทักษะในการปฏิบัติ)
Article Details
ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น