การจัดการชุมชนเข้มแข็ง ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

จันทนา อินทฉิม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ ความเข้าใจของประชาชนต่อการนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน  และ2) ศึกษาวิธีการและรูปแบบการจัดการชุมชนเข้มแข็ง ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเฉพาะกรณีศึกษา วิธีการศึกษา จากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน ประกอบด้วย (1) กลุ่มผู้บริหาร จำนวน 4 คน (2) กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 13 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการศึกษา พบว่า 1) ประชาชนส่วนใหญ่ของตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีความรู้ ความเข้าใจต่อการนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ในระดับหนึ่ง 2) วิธีการและรูปแบบการจัดการชุมชนเข้มแข็ง ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นชุมชนต้นแบบความดีของจังหวัดสมุทรปราการ มีวิธีการจัดการ คือ 1) การวางแผน มีวางแผนและกำหนดเป้าหมายชัดเจน 2) การจัดองค์การ มีการแบ่งงานตามความถนัดของแต่ละคน 3) การนำองค์การ มีผู้นำที่เข้มแข็ง มีความรู้ ความสามารถ เสียสละ ประสานงานหน่วยงานภายในและภายนอกได้ และ4) การประเมิน มีการทำงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน และรูปแบบของการจัดการชุมชนเข้มแข็ง คือ (1) การมีส่วนร่วม (2) การพึ่งตนเอง (3) กระบวนการเรียนรู้ (4) ผู้นำ และ (5) เครือข่ายความร่วมมือ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนให้การจัดการชุมชนเข้มเข้ม อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพ ฯ : บพิธการพิมพ์ จำกัด
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. .(2558). การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2548). “การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง” วารสารเศรษฐกิจและ สังคม, 42 (พฤศจิกายน-ธันวาคม). หน้า 41-47.
________. และคณะ. (2548). นานาคำถาม เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.หน้า 27

ธนากร สังเขป. (2556). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม
กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.
เพ็ญศรี เปลี่ยนขำ. 2550. วิถีการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการ
ราชภัฏตะวันตก. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม-ธันวาคม).
ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา
ในปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.
วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. (2553). กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง : รูปแบบปัจจัยและ
ตัวชี้วัด. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2. หน้า 119-158.
วิทยา จันทร์แดง และจำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชน
เข้มแข็ง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน.
ปริญญา นิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
สมบูรณ์ ธรรมลงกา. (2556). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญา
ท้องถิ่นเป็นฐานในจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 15
ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2556.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2541). การพัฒนาชุมชนแบบจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
ห้างหุ้นส่วน จำกัด เอมี เทรดดิ้ง.
สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2551). สาระสำคัญของการมีส่วนร่วมของบุคลากร. กรุงเทพฯ :
สามเจริญพาณิชย์.
สาวิณี รอดสิน. (2554). ชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนบ้านปางจำปี ตำบลห้วยแก้ว
อำเภอแม่ออน จังหวัดเขียงใหม่. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง.หน้า 11.
สุทิตย์ อาภากโร. (อบอุ่น), พระมหา. (2548). นวัตกรรมการเรียนรู้ : คน ชุมชน และการพัฒนา
กรุงเทพฯ : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.). หน้า 100-105).
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2551). การดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริ.
วารสารน้ำ, 20 (2), หน้า 249 - 250.
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ. 2544. การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ.
วารสารเศรษฐกิจและ สังคม. 1 (มกราคม-มีนาคม). หน้า 7.
อุทัย เลาหวิเชียร. (2551). รัฐประศาสนศาสตร์ : ลักษณะวิชาและมิติต่าง ๆ. กรุงเทพ.
สำนักพิมพ์ เสมาธรรม หน้า 112.
Choo, Chun Wei..(2000).Working with knowledge: how information professionals
help organizations manage what they know. Library Management,21(8) :
p.395-403.
Cohen, J. M. and Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept
and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural
Development Committee Center for International Studies. New York :
Cornell University
Drucker, P. F. (2007). Management: Tasks responsibilities, practices. New Brunswick,
NJ: Transaction : p.451-452.
Griffin, R. W. (2009). Management(7th ed.). Boston: Houghton Mifflin. Marquardt,
M.J. (1996): Building the leaning Organization.(1st ed.) New York McGraw-Hill : p.15.
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1984). Qualitative Data Analysis: A Sourcebook of New Methods. Beverly Hills, CA: Sage.
Nonaka, & Ikujiro. (2001). Classic Work: Theory of Organizational Knowledge Creation.
In Knowledge Management : classic and Contemporary Works. Morey,
Daryl et al. London: The MIT Press, pp. 139-182
Sallis, Edward.; & Jones, Gary. (2002). Knowledge Management in Education. London:
Kogan page.
White, Alastair T, Why Community Participation?, A Discussion of the Argument
go, (Community Participation : Current Issue and Lesson Learned.
n.p. United Nations Children’ s Fun, 1982), p.18.
Yin, Robert K. (2003). Case Study Research: Design and Methods. Sage. Thousand Oaks. C.A .3rd edition