วิเคราะห์เศรษฐศาสตร์การเมืองของไทย

Main Article Content

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์
ธีรพงศ์ ไชยมังคละ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์แนวคิดเศรษฐศาสตร์ทางการเมืองของไทย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ สังเคราะห์เอกสารทุติยภูมิ มุ่งวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงบูรณาการภายใต้แนวคิดทางสังคมวิทยาที่มีความสัมพันธ์กันใน 8 ด้าน คือ 1) เศรษฐศาสตร์การเมืองจากอดีตสู่อนาคต 2) ตัวแบบเศรษฐศาสตร์การเมืองของการนำนโยบายไปปฏิบัติ 3) เศรษฐศาสตร์การเมืองในบริบทสังคมไทยภายใต้สภาวะความขัดแย้ง 4) บทบาทของเศรษฐศาสตร์การเมืองในศาสตร์ของการศึกษาด้านอื่นๆ 5) เศรษฐศาสตร์การเมือง: การพัฒนานโยบายสาธารณะเชิงบูรณาการ 6) เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการผลิตภาคการเกษตร 7) เศรษฐศาสตร์การเมืองของระบบสวัสดิการ และ 8) เศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงพุทธ ซึ่งหลักที่สำคัญในการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์การเมืองแนวทุนนิยม และมีอิทธิพลต่อการศึกษาในศาสตร์นี้ คือ 1) แนวความคิดเกี่ยวกับการแบ่งงานกันทำเพื่อให้เกิดทักษะและประสิทธิภาพการผลิต 2) แนวความคิดเกี่ยวกับความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเพื่อเน้นให้ผู้ผลิตได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ จะช่วยลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ดีขึ้น ซึ่งเศรษฐศาสตร์การเมืองของประเทศไทยจะก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางด้วยการยกระดับเทคโนโลยีให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม และพัฒนาเครือข่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2559). เศรษฐศาสตร์การเมืองจากอดีตสู่อนาคต. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง, 1, 1-8.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2557). รัฐศาสตร์แนววิพากษ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐดนัย แก้วโพนงาม. (2562). เศรษฐศาสตร์การเมืองในบริบทสังคมไทยภายใต้สภาวะความขัดแย้ง
ในจังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิ : มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
นุชนารถ สมควร. (2561). เกษตรกรผู้ประกอบการ : กรอบการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก :
https://hs.kku.ac.th/ichuso/2018/ICHUSO-170.pdf. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563.
นุชประภา โมกข์ศาสตร์. (2561). การวิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์การเมือง. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก :
Prachatai.com.html. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2554). เศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงพุทธ : การจัดการความขัดแย้งผ่านมิติ
การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัษฎากร วินิจกุล. (2557). เศรษฐศาสตร์การเมือง : การพัฒนานโยบายสาธารณะเชิงบูรณาการ
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3, (1), 204-205.
วีโอเอไทย. (2562). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : https:// https://www.voathai.com/. สืบค้นเมื่อ
1 มกราคม 2563.
ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี. (2562). เศรษฐศาสตร์การเมือง ความเหลื่อมล้ำ และไม่เป็นธรรมทางสังคม. [ออนไลน์].
เข้าถึงจาก : thaiciviceducation.org.html. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563.
สมคิด พุทธศรี และภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์. (2562). เศรษฐศาสตร์การเมืองไทยในกระแสเศรษฐศาสตร์
การเมืองโลก. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://www.the101.world/thai-political-economy-
thanee-interview/. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2563.
อภิชัย พันธเสน. (2560). ทำไมเศรษฐศาสตร์จึงต้องเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง. กรุงเทพฯ : บริษัทเกล็ดไทย
จำกัด.