ผลการใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนย่อความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ณัฐพงศ์ ตีระนิล
สุชาวดี เกษมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนย่อความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) ประเมินพัฒนาการทักษะการเขียนย่อความภายหลังการใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์


         ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินทักษะการเขียนย่อความภายหลังการใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ดด้วยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับต้น (gif.latex?\bar{x}  = 36.79)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Acadamic Affairs and Educational Standards. (2019). Næwthāng kār nitheṣ̄ pheụ̄̀x phạtʹhnālæa s̄̀ngs̄erim kār cạdkār reīyn rū̂ cheing ruk (Active Learning) tām nyo bāy ld welā reīyn pheìm welā rū̂ [The basic education core curriculum B.E. 2551]. Bangkok: Bureau of Acadamic Affairs and Educational Standards.

Byrne, D. (1982). Class and the local state. International Journal of Urban and Regional Research. 6(1), 61-82. https://doi.org/10.1111/j.1468-2427.1982.tb00378.x

Chase, W. G. and Clark, H. H. (1972). Mental operation in the comparison of Sentences and Picture. in Cognintive in learning and memory. New York: John Wiley and sons.

Guilford, J. P. (1967). The nature of human intelligence. New York: McGraw-Hill.

Haris, D. P. (1969). Testing English as second language. New York: McGraw-Hill.

Heaton, J. B. (1967). Writing English language tests. London Landman Group Limited.

Kanjanawasri, S. (2013). thritsadī kānthotsō̜p bǣp dangdœ̄m [Classical testing theory]. Bangkok: Chulalongkorn Printing House.

Lado, R. (1964). Language teaching: A scientific approach. New York: Mc Graw-Hill Companies.

Saprueksri, S. and Aonpha, S. (2022). Kār phạtʹhnārūp bæb kār cạdkār reīyn rū̂ d̂wy kickrrm pĕn ṭ̄hān (Activity-Based Learning: ABL) r̀wm kạb thekhnoloyīpheụ̄̀x s̄̀ngs̄erim khwām pĕn nwạt kr læa p̄hl ngān s̄r̂āngs̄rrkh̒ s̄ảh̄rạb nạkreīyn radạb prat̄hm Ṣ̄ụks̄ʹā [The development of activity-based learning management integrated with technology to promote students' innovativeness and creative products]. Master's thesis Silpakorn University.