การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับครูเพื่อคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่อง ทางการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาไทย

Main Article Content

ภรภัทร นิยมชัย
สุวิทย์ ไวยกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาไทย 2) พัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับครูเพื่อคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาไทย และ 3) ศึกษาผลการใช้โมบายแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาไทย การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาไทย ระยะที่ 2 พัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับครูเพื่อคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาไทย และระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้โมบายแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาไทย กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ระยะที่ 1 ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนที่เปิดสอนระดับอนุบาลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 50 คน ระยะที่ 2 และ 3 ได้แก่ ครูปฐมวัยในโรงเรียนที่เปิดสอนระดับอนุบาลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง  เครี่องมือวิจัย คือ 1) แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง 2) แบบคัดกรองเด็กที่มีภาวะเสี่ยงบกพร่องทางสติปัญญา 3) แบบประเมินประสิทธิภาพด้านการทำงานของโมบายแอปพลิเคชัน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้งานโมบายแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องทางสติปัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ พบว่า โรงเรียนมีการดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.17, SD = 1.34) โรงเรียนมีการคัดกรองเด็กอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน (gif.latex?\bar{x} = 3.02, SD = 1.16) และโรงเรียนมีการคัดกรองเด็กการคัดกรองเด็กเสี่ยงบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาไทยอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน (gif.latex?\bar{x} =3.03, SD = 1.22) 2) การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันด้านเทคนิคการออกแบบโมบายแอปพลิเคชัน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.53, SD = 0.58) และด้านการทำงานของโมบายแอปพลิเคชัน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.71, SD = 0.52) และ 3) ครูปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการใช้โมบายแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองเด็กอนุบาลที่เสี่ยงบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาไทยในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.60, SD = 0.41)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

McGriff, S. J. (2000). Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model. Instructional Design Models. 226(14), 1-2.

Nuankham, W. & Chutosi, T. (2019). kānphatthanā ʻǣp phlikhēchan songsœ̄m kānrīanrū rư̄ang phētsưksā læ thaksa chīwit nai nakrīan bǣp būranākān samrap nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sām [Development of application to promote sexual education and students’ life skills in integrated manner for Mathayom 3 students]. In kān prachum wichākān nam sanœ̄ phonngā nawičhai radap chāt khō̜ng naksưksā dān manutsayasāt læ sangkhommasāt khrang thī sō̜ng [The 2nd National Academic Conference on Humanities and Social Sciences: Suan Sunandha Rajabhat University].

Prasertsin, U. & Lopprasert, U. (2019). kānsāng ʻǣ pō̜ phali nakān rīanrū kham sap phān Flash Cards thī mī tō̜ thaksa kā raʻā nō̜ ʻok khīan dai samrap dek thī mī khwām bokphrō̜ng thāngkān rīanrū [The creating of vocabulary learning with flash cards application on literacy skill for learning disabilities children]. Journal of Education Measurement. 36(99), 41-53.

Prongsanya, S., Bulao, S. & Thokao, P. (2021). krabūankān khat krō̜ng phư̄a čhatkān sưksā samrap nakrīan thī mī khwāmtō̜ngkān phisēt [Screening Process for Educating Students with Special Needs]. Journal of Psychology Kasem Bundit University. 11(2), 103-112.

Sitrakan, S., Pakkhaihang, C. & Phrombunruang, S. (2017). ʻǣp phlikhēchan māi khit [Application My Kids]. ngān prachum wichākān radap parinyā trī dān khō̜mphiutœ̄ phūmiphāk ʻĀsīan khrang thī hā [The 5th ASEAN Undergraduate Conference in Computing (AUC2) 2017]. Phitsanulok: Naresuan University.

Siworawibun, B., Meranon, S., Koettham, C. & Khongthong, U. (2013). kānphatthanā rūpbǣp kān rīan kānsō̜n ʻān phư̄a khwāmkhaočhai phān khrư̄akhāi ʻinthœ̄net klum sāra kānrīanrū phāsā Thai samrap nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sām [The Development of an Instructional Model on Reading Comprehension of Thai Language Subject Group Through Internet Network for Mathayomsuksa 3 Students]. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University. 7(3), 58-77.