รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Main Article Content

เพิ่มเติม พลับพลา
ชัยวิชิต เชียรชนะ
สยาม แกมขุนทด

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) สร้างรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน วิธีดำเนินการวิจัย ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 7 กลุ่ม ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 ไม่น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 22 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และเป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับ นำมาหาค่าทางสถิติ โดยหาค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR) โดยคัดแยกประเด็นคำตอบที่มีระดับความจำเป็นในระดับมากที่สุด (Median) โดยมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR) เท่ากับ 0.00
          ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาที่ได้จากการวิเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ ด้านการบริหารงานด้านบุคคล (Man) ด้านการบริหารงานด้านเงินหรืองบประมาณ (Money) ด้านการบริหารงานด้านทรัพยากร (Material) ด้านการบริหารงานด้านการบริหารจัดการ (Management) 2) ผลการสร้างรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR พบว่า องค์ประกอบ
         ทุกองค์ประกอบ มีความเหมาะสมทุกองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน มี 4 องค์ประกอบหลัก และ 44 องค์ประกอบย่อย ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่ามีความเหมาะสมทั้งหมด อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จงสถาพร ดาวเรือง. (2560). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2559-2569). วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12 (1), 289-300.

จุฑารัตน์ เรณุมาน (2565) การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3. การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชรินรัตน์ พุ่มเกษม. (2557). สมรรถนะของคนไทยกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. วารสารการศึกษาไทย. 12 (1), 24-26.

ธิติมาวดี สกุลศิลป์ศิริ. (2564). การบริหารจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษา ตอนปลาย (ทวิศึกษา) ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประมุข ติฐิโต. (2558). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของสถานศึกษาในการดำเนินงานด้านวิชาการในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8 (1), 274-290.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 เม.ย. 2566. แหล่งที่มา: http://bsq2.vec.go.th

วสุภัทร กุลเมือง และคณะ. (2566). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิจัยวิชาการ. 6 (4), 47-58.

เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาคธุรกิจในยุคการเปลี่ยนแปลง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 6 (1), 1-16.

สูตรทนิ อินทร์ขา. (2554). รูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระบบงานบริการการศึกษาสำหรับโรงเรียนสาธิตมัธยม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. (6). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิทยพัฒน์ จํากัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.nesdc.go.th/ download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2563). รายงานประจำปี 2563 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: 12 มีนาคม 2563. สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). รายงานการสังเคราะห์ตัวชี้วัดด้านการศึกษาไทย ตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. สิงหาคม 2560. สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาบริษัท : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อัมพร สงคศิริ และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผัน ของสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 45 (2), 193-214.

Economic Commission for Europe. (2021). Economic and Social Council Official Records. 9-20 April 202. United Nations. New York: Geneva

Glickman, C. D. (1981). Developmental supervision: Alternative practice for helping teachers improve instruction. Washington DC: Association for Supervision And Curriculum Development.

McMullan, Mirjam, et al. (2003). Portfolios and assessment of competence: A review of the literature. Journal of Advanced Nursing. 41 (3), 283-294.

Porter, Michael E. (1995). The Competitive Advantage of the Inner City. Harvard Business Review. 73 (4), 55-71.

Schoderbek and Kefalas (1990). Management systems: Conceptual considerations. Homewood, IL, Irwin.

Lunenburg, Fred C. and Ornstein, Allan C. (2014). Educational Administration: Concepts and Practices. (7) Australia: Wadsworth.

Raynold, D. (1998). Schooling for Literacy: A Review of Research on Teacher Effectiveness and School Effectiveness and Implication for Contemporary Education Policy. Education Review. 24 (5), 50.