หน้าที่และความหมายของคำไวยากรณ์ “คือ”

Main Article Content

แสงเทียน รัตนเสรีวงษ์

บทคัดย่อ

          ในทางวากยสัมพันธ์ คำว่า “คือ” ทำหน้าที่เป็นสัมพันธกริยาที่สามารถใช้เชื่อมประธานที่เป็นนามวลีกับภาคแสดงนาม (Nominal Predicate) หรือเชื่อมประธานกับประโยคหรือวลีที่เป็นส่วนขยาย ทว่า จากข้อมูลการใช้ภาษาของผู้พูดภาษาไทยที่ได้รวบรวมจาก SNS (Social Networking Service) เป็นจำนวน 300 ตัวอย่าง พบว่านอกจากหน้าที่และความหมายในฐานะที่เป็นสัมพันธกริยาแล้ว คำว่า “คือ” ที่ปรากฏในตำแหน่งภายนอกโครงสร้างนามวลี ยังมีหน้าที่เป็นคำไวยากรณ์อีกด้วย หาก “คือ” เชื่อมนามวลีที่เป็นหัวเรื่องหรือประธานกับภาคแสดงวิเศษณ์ (Adjectival Predicate) หรือภาคแสดงกริยา (Verbal Predicate) จะสื่อความเชิงระบุเฉพาะเพื่ออธิบายคุณสมบัติของหัวเรื่องนั้น ๆ เปรียบกับสิ่งอื่น ๆ แต่หาก “คือ” ปรากฏนำหน้าประโยคหรือกริยาวลีที่ไม่ได้เป็นส่วนขยายนาม จะเป็นการอธิบายเรื่องราวความคิดของผู้พูดที่มีต่อหัวเรื่องนั้น ๆ ซึ่งโดยมากมักถูกละไว้แต่สามารถตีความได้จากบริบท นอกจากนี้ ยังพบการใช้ในรูปแบบสำนวน หาก “คือ” เชื่อมหน่วยคำเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน จะทำหน้าที่เน้นย้ำความหมายแฝง (Connotation) ของหน่วยคำ    นั้น ๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Dejpitaksirikul, K. (2018), Practical Thai Usage of /pen/ and /khɯ:/ for Chinese Student. Veridian E-Journal Silpakorn University. 381-394,

Givón, T. (1984), Syntax: A Functional-Typological Introduction, Benjamins Publishing Company

Kageyama, T. (2009), Structural Constraints and Predication Function in Language. Journal of the Linguistic Society of Japan, 136, 1-34. [in Japanese]

Kageyama, T. (2012), Zokusei Jojutsu no Sekai, Kurosio Publishers. [in Japanese]

Khambunchu, R. (2014), “Topic” in Thai. https://ir.library.osaka-u.ac.jp/repo/ouka/all/34542/. [Unpublished doctoral dissertation]. Osaka University. [in Japanese]

Kuno, S., Wongkhomthong, P. (1981). Characterizational and Identificational Sentences in Thai, Studies in Language, 5, 65 - 109, Foundations of Language.

Masuoka, T. (2008), Jojutsu Ruikeiron, Kurosio Publishers. [in Japanese]

Minegishi, M., Wittayapanyanon, S. (2019), Topic in Thai and its use in discourse. Gengo No Ruikei Teki Tokucho Taisho Kenkyu Kai Ronshu, 2, 111-135. [in Japanese]

Prasithrathasint, A. (2010). Parts of speech in Thai : A syntactic analysis. Chulalongkorn University Printery

Tanaka, H. (2012), Tougo Kouzou wo Chushin toshita Nihongo to Taigo no Taishou Kenkyu. 110-111. Hituzi Syobo Publishing. [in Japanese]

Warotamasikkhadit, U. (1994), Basic Linguistics Theory (ภาษาศาสตร์เหมาะสมัยเบื้องต้น). 174-175. TonThaam. [in Thai]

Wongwattana, U. S. (2015), Complexities of Thai copular constructions. Journal of the Southeast Asian Linguistics Society (JSEALS), 8, 97-120.

Wongwattana, U. S. (2022), Communicative Thai Grammar (ไวยากรณ์ไทยเชิงสื่อสาร). Naresuan University Publishing House. [in Thai]