การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

จิรกฤต ธนกฤตศนนท์
ภาสกร ดอกจันทร์
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

          วิจัยครังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร 2) สภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร  และ 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์กู้ชีพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมกู้ชีพกู้ภัย และโรงพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 248 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์โดยรูปแบบข้อมูลเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า
          1. การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านรถพยาบาลและวัสดุอุปกรณ์ รองลงมา คือ ด้านทักษะความรู้ในการออกปฏิบัติงาน ด้านการสื่อสารและศูนย์สั่งการ ด้านการมีส่วนร่วมของทีมงาน ด้านความพร้อมในการปฏิบัติงาน และด้านการสนับสนุนและขวัญกำลังใจ ตามลำดับ
          2. สภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร พบว่า 1) บุคคลากรไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 2) ไม่ได้มีการเตรียมความพร้อม 3) ยังขาดการจัดสรรงบประมาณที่จะส่งผู้ปฏิบัติการในระดับพื้นฐาน 4) การลาออกเนื่องจากค่าตอบแทน ไม่พอกับการดำรงชีพ 5) ผู้สมัครเข้ามาเป็นผู้ปฏิบัติยังไม่ผ่านการอบรมให้ผู้ปฏิบัติงาน
          3. แนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร พบว่า 1) จัดทำปฏิทินการจัดอบรมเพื่อแจ้งให้ทุกหน่วยงานทราบ 2) ให้มีหน่วยงานกลางที่เป็นหน่วยขับเคลื่อนการพัฒนางานบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย 3) การนิเทศติดตามศูนย์บริการแพทย์ฉุกเฉินทุกแห่งเพื่อหนุนเสริมเพิ่มกำลังใจให้กับคนทำงาน 4) การถอดบทเรียนการดำเนินงานของการแพทย์ฉุกเฉินในทุกปี และนำเสนอผู้บริหารเพื่อนำสู่การแก้ไขให้บุคลากร และ 5) การศึกษาและนำเสนอระเบียบกฎหมาย ที่ยังเป็นปัญหาในการหนุนเสริมภารกิจของการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อหาทางออกร่วมกันและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิลวรรณ ทรัพย์พรรณราย, กมล โพธิเย็น และ สมทรัพย์ สุขอนันต์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปริยาภรณ์ บุญเรือง. (2562). การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับส่งผู้ป่วย จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.