รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา วันอาทิตย์ จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

พระประกฤษฎิ์ ธมฺมวํโส (แสงเทียมจันทร์)
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ (วันยาว)

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดมหาสารคาม ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการมีส่วนร่วมของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (2) เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดมหาสารคาม และ (3) เพื่อเสนอรูปแบบการการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  (Qualitative Research) ภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview)  จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
          ผลการวิจัยพบว่า
          สภาพปัญหาการมีส่วนร่วมของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์: ทั้ง 5 ด้าน คือ (1) ด้านหลักสูตร ไม่สอดคล้องกับบริทบของชุมชน (2) ด้านสถานที่ เป็นอาคารเรียนตามศาลการเปรียญวัดหรืออาคารอาคันตุกะ (3) ด้านบุคลากร มีการปรับเปลี่ยนอยู่ประจำ (4) ด้านสื่อการเรียนการสอน บุคลากรขาดความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีสมัย และ(5) ด้านการจัดกิจกรรมไม่ตอบโจทน์หลักสูตร
           รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดมหาสารคาม: ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการตัดสินใจ มีความเข้าใจในกระบวนการที่สมเหตุสมผล (2) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มีการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะการทำงานบนเทคโนโลยีที่ทันสมัย (3) ด้านการร่วมรับผลประโยชน์ เปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วมในการสนับสนุน และ (4) ด้านการร่วมประเมินผล มีการติดตามประเมินผลเพื่อสะท้อนถึงจุดอ่อนขององค์กรที่ตรงตามความเป็นจริง
           ได้เสนอรูปแบบการการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์  จังหวัดมหาสารคาม: การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้วยการอบรมพัฒนาทักษะการสอนแลการใช้เทคโนโลยี และ การมีร่วมประเมินผลเพื่อสร้างเกณฑ์การประเมินที่สอดคล้องกับบริบทของศูนย์  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). แนวทางการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา วันอาทิตย์. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมการเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2545). รายงานสถิติคดี ประจำปี พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร:

พริกหวานกราฟฟิค.

ณัฐพงศ์ ฉลาดแย้ม. (2554). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลําภู เขต 1. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธมฺมจรถ. (2551). ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์อีกหนึ่งความหวังของเด็กไทย. ธรรมลีลา. ฉบับที่ 86.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาคณะสงฆ์.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระประสิทธิ์ สิรินธโร และคณะ. (2547). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่สอดคล้องกับเครือข่ายโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

พระมหาสุชาติ ธมฺมกาโม (ปิติ). (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ศึกษา พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 13. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาอำนาจ ปวฑฺฒโน. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาณพ พลไพรินทร์. (2556). คู่มือการบริหารกิจการคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: ชุติมาการพิมพ์มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา.

สุจินตนินท์ หนูชู. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่มีประสิทธิผล. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.