การพัฒนารูปแบบป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

อมรรัตน์ แก้วสุวรรณ
กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และบริบทการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดนนทบุรี เพื่อพัฒนารูปแบบป้องกันภาวะสมองเสื่อมในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพื่อฟื้นฟูการรู้คิดและการทรงตัวในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และเพื่อทดสอบรูปแบบป้องกันภาวะสมองเสื่อมในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพื่อฟื้นฟูการรู้คิดและการทรงตัวในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อพัฒนารูปแบบป้องกันภาวะสมองเสื่อมในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพื่อฟื้นฟูการรู้คิดและการทรงตัวในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 สังเคราะห์รูปแบบการฝึกสมองจากสถานการณ์ ปัจจัยและบริบทในกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ชมรมผู้สูงอายุมหาสวัสดิ์ บางบัวทอง และไทรน้อย 122 คน และผู้เกี่ยวข้องในชุมชน 33 คน ประกอบด้วยกิจกรรมฝึกสมอง คือ การกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 การออกกำลังกายระบบประสาท กิจกรรมการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสาร โดยใช้แบบสอบถามสถานการณ์ปัจจัยและบริบทในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เรื่อง นโยบาย การดำเนินงาน การจัดบริการ และแนวทางการป้องกันโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการฝึกสมอง ในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงชมรมบ้านบางเลน ทดลองและพัฒนากิจกรรมการฝึกสมอง 4 กิจกรรม ๆ ละ 3–5 คน/ครั้ง รวม 21 คน จนได้คำตอบต้นแบบการฝึกสมองในกิจวัตรประจำวันสำหรับผู้สูงอายุที่สมบูรณ์ (prototype) โดยทดลองใช้รูปแบบการฝึกสมองฉบับร่างในกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก (small groups) ระยะที่ 3 ทดสอบรูปแบบการฝึกสมองในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เปรียบเทียบในกลุ่มทดลอง ตำบลบางไผ่ และกลุ่มเปรียบเทียบ ตำบลเกาะเกร็ด กลุ่มละ 30 คน โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการรู้คิด และแบบประเมินการทรงตัว ผลการวิจัยพบว่า หลังได้รับการใช้รูปแบบการฝึกสมองกลุ่มทดลองมีระดับการรู้คิดสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน. (2565). [E-book]. ระบบประสาทสมอง และโรคที่พบบ่อย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2567. https://www.chulabook.com/medical-and-nursing/168945

Alzheimer’s Society. (2020). The progression and stages of Dementia. Online. Retrieved March 3, 2024. from: https://www.alzheimers.org.uk/sites/default/files/pdf/factsheet_ the_progression_of_alzheimers_disease_and_other_dementias.pdf.