การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ขับเคลื่อน การมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

ประสิทธิ์ มีแก้ว
วิสุทธิ์ สุกรินทร์
มานพ ทองตัน
จิตต์ศจี ธฤตกุลวณิชย์

บทคัดย่อ

         การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาบริบทพื้นที่ วิเคราะห์สถานการณ์และการดำเนินงานความปลอดภัยทางถนน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 130 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การขยายเครือข่าย สู่ระดับพื้นที่ตำบล 2) การพัฒนาการมีส่วนร่วม สร้างความร่วมมือและความเป็นเจ้าของ 3) การพัฒนาระบบจัดการข้อมูล การคืนข้อมูลสารสนเทศให้กับพื้นที่ 4) การพัฒนาศักยภาพทีมคณะทำงานภาคีเครือข่าย สนับสนุนการดำเนินงาน 5) การชื่นชม สร้างคุณค่าการปฏิบัติงานและสร้างแรงจูงใจ ผลการประเมินการพัฒนารูปแบบฯ พบว่า มีการดำเนินการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนนที่มีประสิทธิภาพ โดยมีผลการประเมินภาพรวมที่คะแนนเฉลี่ย 3.63 ระดับดี และหลังการดำเนินการ พบว่า อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตทางถนนลดลง ร้อยละ 6.98  สรุปว่ารูปแบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนลดลงได้


   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาและสำนักพัฒนายุทธศาสตร์ดีวิถีไทย. (2563). บทเรียน พชอ. การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน แผนโลก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/135772 0221213073508.pdf.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย. (2564). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2566. แหล่งที่มา:https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2565-09/25650919-Re portExcident-2565.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566—2570). ราชกิจจานุเบกษา.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2561). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc. go.th/DATA/PDF/ 2561/E/054/1.PDF

มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาและสำนักพัฒนายุทธศาสตร์ดีวิถีไทย. (2563). บทเรียน พชอ. การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี.

ชูชาติ นิจวัฒนา และ สุรางค์ศรี ศีตมโนชญ์. (2565). โครงการพัฒนาระบบการป้องกันอุบัติเหตุโดยมีชุมชนเป็นฐาน แบบบูรณาการเชิงพื้นที่กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต. แผนงานระบบบริการสุขภาพ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

ศรีสมบูรณ์ คำผง. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยในการจราจรโดยคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม. 1 (2), 72-86

สมนึก จันทร์เหมือน. (2563). การพัฒนาศักยภาพรูปแบบการจัดการความปลอดภัยในการจราจรโดยคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 5 (3), 105-116.

ปิติ จันทรุไทย และคณะ. (2562). การประเมินประสิทธิผลของโครงการกำหนดความเร็วของยานพาหนะที่ขับขี่ในพื้นที่เขตกำหนดความเร็ว. มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย(มนป.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.).

ธมลวรรณ เจนธนสาร. (2564). การจัดการเชิงกลยุทธ์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา: https://www.spu.ac.th/fac/account/th/content.php?cid=24582

ฉลองชัย สิทธิวัง และ คณะ. (2564). การพัฒนาความปลอดภัยทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย 6 อำเภอนำร่อง จังหวัดน่าน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา: https://kb.hsri.or.th/ dspace/handle/11228/5397

จุทาทิพ ต่อยอด และคณะ. (2562). คู่มือขับเคลื่อน “กลไก ศปถ.อำเภอ” ในงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ร่วมกับศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ศวปถ.). มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

มิตร สารัตน์. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยใช้ระบบและกลไกของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 3 (1), 161-74.

เกษมสุข กันชัยภูมิ. (2565). การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนแบบมีส่วนร่วมโดยเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 7 (2), 82-92.

เดชา บัวเทศ และ เย็นฤดี กะมุกดา. (2564). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่เพื่อเสนอเป็นนโยบายสู่การปฏิบัติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา: https://thaidj.org/index.php/jdhss/article/view/12473/10364

สมยศ ศรีจารนัย. (2561). บทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

รังสรรค์ ศรีคราม และ สุคนทิพย์ บัวแดง. (2566). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีษะเกษ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2566. แหล่งที่มา: https://he03.tci-thaijo.org/index. php/SJRH/article/view/1756

World Health Organization. Road traffic injuries. online. Cited 2022 March 11. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/road-traffic-injuries.

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.