การพัฒนาเมืองและฟื้นฟูเมืองแบบมีส่วนร่วม: การวิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองในประเทศไทย

Main Article Content

กรุณา รักษวิณ
สุพักตรา สุทธสุภา
ถิรวัฒน์ พิมพ์เวิน

บทคัดย่อ

          ในการพัฒนาเมืองและการฟื้นฟูเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างเมืองที่ยั่งยืนนั้น การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคส่วนต่าง ๆ มีความสำคัญอย่างยิ่ง การศึกษานี้ได้ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพกับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองในประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์และเข้าใจถึงปัจจัยสำคัญและผลกระทบของการพัฒนาเมืองและการฟื้นฟูเมืองที่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเลือกพื้นที่โครงการที่มีศักยภาพและการมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนนั้นสำคัญ โดยมีการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมถึงการให้ข้อมูลที่โปร่งใสและการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเป็นประจำ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคล การใช้นวัตกรรม และการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมที่เอื้อต่อทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถนำไปสู่การพัฒนานโยบายและแผนการพัฒนาเมืองและการฟื้นฟูเมืองที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การเคหะแห่งชาติ. (2562). โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อศึกษาความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาเมือง การฟื้นฟูเมืองด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเมือง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Bates, T. (2010). Alleviating the financial capital barriers impeding business development in inner cities. Journal of the American Planning Association. 76 (3), 349-362. https://doi. org/10.1080/01944363.2010.488717

Bogner, A., Littig, B., & Menz, W. (2009). Interviewing experts. Palgrave Macmillan. https://doi.org/10.1057/9780230244276

Dai, L., Han, Q., de Vries, B., & Wang, Y. (2022). Exploring key determinants of willingness to participate in EIA decision-making on urban infrastructure projects. Sustainable Cities and Society. 76 (103400), 1-12. https://doi.org/10.1016/j.scs.2021.103400

Gartmeier, M., Bauer, J., Gruber, H., et al. (2008). Negative knowledge: Understanding professional learning and expertise. Vocations and Learning, 1, 87–103. https://doi.org /10.1007/s12186-008-9006-1

Konsti-Laakso, S., & Rantala, T. (2018). Managing community engagement: A process model for urban planning. European Journal of Operational Research. 268 (3), 1040-1049. https://doi.org/10.1016/j.ejor.2017.12.002

Krueger, R. A., & Casey, M. A. (2015). Focus groups: A practical guide for applied research (5th ed.). SAGE.

Leland, S., & Read, D. C. (2013). Representative bureaucracy, public-private partnerships, and urban development. Journal of Place Management and Development. 6 (2), 86-101. https://doi.org/10.1108/JPMD-04-2012-0015

Minichiello, V. (1995). In-depth interviewing: Principles, techniques, analysis (2nd ed.). Longman. https://archive.org/details/indepthinterview0000unse

Robinson, O. C. (2014). Sampling in interview-based qualitative research: A theoretical and practical guide. Qualitative Research in Psychology. 11 (1), 25–41. https://doi.org/10. 1080/14780887.2013.801543