ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน: กรณีศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู

Main Article Content

กชพร พลศักขวา
นวัตกร หอมสิน
ชัชจริยา ใบลี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อตรวจสอบและประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงนโยบาย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผลการศึกษาสภาพการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
          2. ผลการจัดทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของนโยบาย แนวทางของนโยบาย และกลไกของนโยบาย ได้องค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนและตั้งเป้าหมาย 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ 3) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 4) ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ 5) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล
          3. ผลการตรวจสอบและประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเหมาะสม ความสอดคล้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการดําเนินงานการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงฯ.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2551). การระดมประชาชนเพื่อการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.

ชัชจริยา ใบลี. (2553). ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัชจริยา ใบลี. (2563). หลัก ทฤษฎี และปฏิบัติการบริหารการศึกษา. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ธร สุนทรายุทธ. (2552). การบริหารจัดการจัดการเชิงปฏิรูป. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดการและบริหารการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2551). การปกครองท้องถิ่นไทย ในบริบทของรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

¬¬¬¬ประชุม รอดประเสริฐ. (2547). นโยบายและการวางแผนงานหลักการและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่ 8). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เมตต์ เมตต์การุณจิต. (2553). การจัดการศึกษา: โดยชุมชน เพื่อชุมชน และสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยร่มเกล้า.

รัตนา สายคณิต. (2550). การประเมินโครงการ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2532). การวิจัยเชิงนโยบายกับการพัฒนาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจิตร ศรีสะอ้าน และ ทองอินทร์ วงศ์โสธร. (2551). แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับนโยบาย ในประมวล สาระชุดวิชานโยบายและการวางแผนการศึกษา หน่วยที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2548). การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2545). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา : แนวคิดและกรณีศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์จำกัด.

สุคนธา คงศีล และ สุขุม เจียมตน. (2550). การวิจัยเชิงนโยบายคืออะไรและทำอย่างไร. บริหารงานสาธารณสุข. 13 (2), 56-71.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2542). รายงานการวิจัย การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โครงการวิจัยภายใต้การ

สนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

Anthony, William, P. (1978). Participative management. Massachusetts: Addition-Wesley.

Cohen & Uphoff. (1997). Rural development participation: Concept and measures for project design implementation and evaluation. London: Rural Development Committee Center for International Studies Cornell University.

Robert, J. & lrving, P. (1961). Leadership and organization. New York: McGraw Hill.

Sashkin, M. (1982). A manager’s guide to participative management. New York: AMA. Membership Publications Division.