การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

ประไซคอน ไซโกสี
ธนานันต์ กุลไพบุตร
สำราญ กำจัดภัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สปป.ลาว 3) พัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน และ 4) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้น 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรเสริม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 12 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างอาศัยความน่าจะเป็นโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Claster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรเสริม แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test
          ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษามี 3 องค์ประกอบ 18 ตัวชี้วัดโดยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 พบว่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI) ในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน มีความต้องการจำเป็นมากกว่าสภาพที่มีอยู่จริง 3) หลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้น มี 9 องค์ประกอบพบว่า หลักสูตรมีคุณภาพในระดับมากที่สุด 4) ผลการทดลองใช้หลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักศึกษามี สมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติหลังเรียนด้วยหลักสูตรเสริมสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรเสริมที่พัฒนาขึ้นพบว่าอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา. (2558). กฏหมายศึกษา (ฉบับปรับปรุง ค.ศ 2015) นครหลวงเวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา กรมสร้างครู. (2558). การพัฒนาวิชาชีพครูแบบต่อเนื่องที่เน้นโรงเรียนเป็นฐาน โดยรูปแบบการส่งเสริมการวิจัยปฎิบัติการในชั้นเรียน. นครหลวงเวียงจันทน์: กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา.

กติกา ราชบุตร (2563). รูปแบบการดูแลให้คำปึกษาแนะนำในการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับครู วิทยาลัยคูรสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิประไตยประชาชนลาว

ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ไพวัน ดวงพระจัน. (2561). ตัวบ่งชี้สมรรถนะการวิจัยของครูระดับมัธยมศึกษาตอนปราย มีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24 (1), 208-255.

พันทิวา กุมภิโร. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเสริมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบอิงบริบทโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต. (2565). บทรายงานสรุปแผนการประจำปี 2565 และวางแผนการประจำปี 2566สะหวันนะเขต: มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต.

รุ่งทิวา ปุณะตุง. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการรู้สารสนเทศ ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ลัดสะหมี พอนไซ. (2565). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำราญ กำจัดภัย. (2560). สถิติเพื่อการวิจัยทางหลักสูตรและการสอน. สกลนคร: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำราญ กำจัดภัย. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาครูในการเตรียมฝึกปฏิบัติการกาสอน โดยใช้การเสริมสร้างพลังและการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2551). การประเมินความต้องการจำเป็น ใน ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินและจัดการโครงการประเมิน หน่วยที่ 6-10. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Best, J.W. (1981). Research in Education. New Delhi: Prentice - Hall of India Private Limited.

McCormick, Ernest J. & Daniel, Ilgen R. (1980). Industrial Psychology. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.