การจัดการความเสี่ยงของกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทย

Main Article Content

เกษทิพย์ ศิลปชัย
วรรณวิภา ไตลังคะ
ชัยวุฒิ จันมา

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการความเสี่ยงของกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทย 2) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความสำเร็จในการจัดการความเสี่ยงและปัจจัยลักษณะองค์กร 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการความเสี่ยง และ 4) นำเสนอแนวทางการจัดการความเสี่ยงของกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารองค์กรในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร จำนวน 150 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค
           ผลการวิจัยพบว่า 1) อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรส่วนใหญ่ดำเนินการในรูปแบบบริษัท มีลักษณะการเป็นผู้ผลิต มีทำเลที่ตั้งกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ มีการจัดการความเสี่ยงได้มากในด้านการประเมินความเสี่ยง 2) การมีรูปแบบองค์กร ลักษณะการประกอบธุรกิจ และทำเลที่ตั้งต่างกัน มีความสำเร็จในการจัดการความเสี่ยงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3) ปัจจัยด้านการวางแผนรับมือกับความเสี่ยง และการลงมือทำ ติดตามและควบคุมความเสี่ยง ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการความเสี่ยงของกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร 4) แนวทางการจัดการความเสี่ยง ประกอบด้วย 1) การแสวงหาการร่วมทุนกับประเทศในกลุ่มอาเซียน 2) การเปิดตลาดใหม่กับลูกค้ารายย่อย 3) การพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง 4) การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการซ่อมบำรุงที่ทันสมัยและซับซ้อน และ 5) ความพยามลดการพึ่งพาวัตถุดิบเหล็กจากต่างประเทศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยวุฒิ จันมา และคณะ. (2562). แนวทางการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรภาคอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี. วารสารคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 11 (3), 483-496.

เจษฎา อุดมกิจมงคล. (2561). อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร (Agricultural Machinery). กรุงเทพมหานคร: สำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.

จุฑาทิพย์ สุรารักษ์. (2563). การประเมินความเสี่ยงของปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนการผลิตในบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยาน. RMUTT Global Business and Economics Review. 17 (1),31-44.

วิรัช วิรัชนภาวรรณ. (2555). การวิเคราะห์เปรียบเทียบความหมายของการบริหารการจัดการ การบริหารการพัฒนาและการบริหารจัดการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จํากัด.

วรรณวิภา ไตลังคะ. (2565). นโยบายและกลไกการส่งเสริมการเกษตรมูลค่าสูงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. 18 (1), 95-107.

วิเชียร วิทยาอุดม. (2551 ). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธนชัยการพิมพ์.

แววมยุรา คำสุข และ มรกต กำแพงเพชร. (2561). การจัดการความเสี่ยงด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรธุรกิจอุตสาหกรรม. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 6 (1), 229 – 233.

ระศักดิ์ เปี่ยมสุภัคพงศ์ และคณะ. (2562) การเรียนรู้เพื่อรับมือกับการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจในบริบทใหม่ ยุคอุตสาหกรรม 4.0. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University. 13 (2),171-181

ศูนย์ข้อมูลและการคาดการณ์เทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). รายงานการคาดการณ์นวัตกรรมอุตสาหกรรม. สวทน.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). กระแสทรรศ์. ฉบับที่ 3301. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.kasikornresearch.com

สมคิด บางโม. (2552). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิทยพัฒน์ จํากด

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2566). นวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรของไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://industrialclub.fti.or.th

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. สศอ. (2565). แนวทางการการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.oie.go.th/view/1

อาชนัน เกาะไพบูลย์ และคณะ. (2561). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการย่อยที่ 6. อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรของไทยกับพื้นที่ศักยภาพของผู้ประกอบการไทย. โดยทุนสนับสนุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย : 1-2.

Crispin, G. (2018). The Essence of Risk Identification in Project Risk Management: An Overview. International Journal of Science and Research. 9 (2),1553 - 1557.

Doval, E. (2019). Risk Management Process in Projects. Review of General Management. 30(2), 97-113.

Enterprise Risk Management-Integrated Framework Executive Summary. (2004). COSO. Online. Retrieved from https://www. coso.org/Documents/COSO-ERM-Executive-Summary.pdf

Enterprise Risk Management: Integrating with Strategy and Performance Executive Summary. (2017). COSO. Online. Retrieved from https://www.coso.org/Documents/2017-COSO-ERM-Integrating-with-Strategy-and-PerformanceExecutive-Summary.pdf Goto.

Elena, M., Habibi, M. R., and Richard, M. O. (2013). To be or Not to be in Social Media: How Brand Loyalty is Affected by Social Media?. International Journal of Information Management, 33 (1), 76-82.

Ferreira de Araujo Lima, P., Marcelino-Sadaba, S. and Verbano, C. (2021). Successful implementation of project risk management in small and medium enterprises: a cross-case analysis. International Journal of Managing Projects in Business. 14 (4), 1023-1045.

Porter. M. E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. Free Press. New York