ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ของนักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบแผนการทดลองเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 36 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test for Dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษาที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงมีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนดปริ๊นติ้ง.
โชติมากานต์ ไชยเยศ, ปานวาด ปรียานนท์, นงลักษณ์ โพธิ์น้อย และ พรเพ็ญ ทองกันยา. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 42 (3), 340-353.
ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
(พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2557). การศึกษานอกสถานที่และการศึกษานอกสถานที่เสมือนเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก. กรุงเทพมหานคร.
เบญญาลักษณ์ รวยเรืองรุ่ง. (2565). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ รายวิชาคอมพิวเตอร์โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8 (5), 347-358.
พระมหาอนุชิต อนนฺตเมธี (ปราบพาล) และคณะ. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มสืบสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7 (2), 375-385.
พีชาณิกา เพชรสังข์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผสมผสานเทคโนโลยีตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 12 (2), 4-13.
พุทธพงษ์ พงษ์พวงเพชรและคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างความรู้และความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 12 (2), 93-106.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2551). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. นครปฐม.
วรรณิภา ภูไทยและคณะ. (2565). การพัฒนาทักษะการตัดสินใจบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบสืบสอบของอัลเบอร์ตาเลิร์นนิ่ง. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (8), 201-215.
วรัญญู ฉายาบรรณ์ และ กนิษฐ์ ศรีเคลือบ. (2566). อิทธิพลส่งผ่านพหุระดับของความสนุกในการเรียนรู้ในความสัมพันธ์ระหว่างความยึดมั่นผูกพันในการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ การเรียนการสอนแบบสืบสอบและการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 25 (1), 210-221.
ศักดา ส่งเจริญ, ประทุมทอง ไตรรัตน์, วสันต์ สอนเขียว, วรพจน์ ส่งเจริญ, ภารุจีร์ เจริญเผ่า และธีราทัต
เลิศช่ำชองกุล. (2560). การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 8 (2), 174-185.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2560). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ทรีบีการพิมพ์และการยาง.
ศุภณัฐ พานา. (2563). แนวทางในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 23 (2), 390-399.
อธิษฐ์ คู่เจริญถาวร และ สรชัย ชวรางกูร. (2565). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง กรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองท่า. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา. 14 (2), 103-116.
อัญญารัตน์ นิติศักดิ์ และ สมพงษ์ จิตระดับ. (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบในรายวิชาเพิ่มเติม ภูมิปัญญาไทย ที่มีผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้และความตระหนักรู้คุณค่างานฝืมือไทยในราชสำนักของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 13 (2), 371-185.
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2562). การวิจัยทางการศึกษา : แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร.
อินทร์ริตา ยาวิชัย. (2566). การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ด้วยทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ตนเองของโรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิงเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์. 8 (2), 1-16.
Cohen J.. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. New York, NY: Routledge Academic.
Gwo-Jen Hwang et al.. (2015). A contextual game-based learning approach to improving students' inquiry-based learning performance in social studies courses. Journal of Computers & Education. 81, 13-25.
Kousloglou M. et al. (2023). Assessing Students’ Awareness of 4Cs Skills after Mobile-Technology-Supported Inquiry-Based Learning. Sustainability. 15 (8), 6725.