การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน และ 3) เปรียบเทียบความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา ภาคเรียนที่ 2/2565 จำนวน 41 คน ซึ่งได้จากการสุ่ม อย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแบบสัมภาษณ์ความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานที่พัฒนาขึ้นมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความตระหนัก (Stimulate awareness) ขั้นลงมือปฏิบัติกิจกรรม (Practice on activities) ขั้นที่ 3 ขั้นสะท้อนการเรียนรู้ (Reflect on learning) และขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล (Evaluate) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.91/76.08 ซึ่งเป็นไปเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานอยู่ในระดับสูง และ 3) นักเรียนมีความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2563). คู่มือกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. ออนไลน์. สืบค้น 29 ธันวาคม 2564.แหล่งที่มา: https://actionforclimate.deqp.go.th/ wp-content/uploads /2021/03/CCManual-compress.pdf.
กรมอุตุนิยมวิทยา. (2566). การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ. ออนไลน์. สืบค้น 16 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: http://climate. tmd.go.th/content/article/9.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์และการเกษตรแห่งประเทศไทย.
กองกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2563). พัฒนาการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. ออนไลน์. สืบค้น 29 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: https:// lawforasean. krisdika.go.th/File/files/Climate%20Change.pdf.
คณะที่ปรึกษาของสภาความมั่นคงแห่งชาติด้านความมั่นคงภายในและระหว่างประเทศ. (2565). Climate Change การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบในมิติด้านความมั้นคง. วารสารมุมมองความมั่นคง. 9, 5-22.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2542). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ Research methodology in behavioral sciences and social sciences. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คำสมัย.
วิชญาดา นวนิจบำรุง และ สลา สามิภักดิ์. (2562). ความเชื่อของครูวิทยาศาสตร์: ทบทวนวรรณกรรม และ แนวทางการศึกษา. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 10 (2), 300-314.
ศศิธร ลิจันทร์พร. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานโดยใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมความมีวินัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย (ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่. (2563). คู่มือการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียน. ออนไลน์. สืบค้น 30 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: https://cmi4.go.th/group/ supervision/wp-content/uploads/2020/06/คู่มือสิ่งแวดล้อมศึกษาปรับ-1.pdf
สุชิรา มีอาษา. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
องค์การอนามัยโลก (WHO). (2562). การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. ออนไลน์. สืบค้น 20 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/climate-change-and-health.
Answer, F. (2019). Activity-Based Teaching, Student Motivation and Academic Achievement. Journal of Education and Educational Development. 6 (1). 154-170. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1216784.pdf.
Eckstein, D., Künzel, V., Schäfer, L.. (2021). GLOBAL CLIMATE RISK INDEX 2021. Germany: Germanwatch e.V. Retrieved form https://reliefweb.int/at tachments/b6a6928e-214a-3398-bc01-1460f32bb3ad/Global%20Climate% 20Risk%20 Index%202021_1.pdf.
Fallon, E. (2013). An Activity-based Approach to the Learning and Teaching of Research Methods: Measuring Student Engagement and Learning. Irish Journal of Academic Practice. 2 (2), 1-24. doi:10.21427/D7Q72W.
Lakshmi, A. (2007). Activity based learning a report on an Innovative Method in Tamil Nadu. Retrieved form http://www.ssa.tn.nic.in/Docu/ABL-Report-by-Dr.Anandhalakshmi.pdf.
Magulod Jr, C. G. (2018). Climate change awareness and environmental attitude of college students in one campus of a State University in the Philippines. Journal of Biodiversity and Environmental Sciences (JBES). 12 (2), 211-220. Retrieved from file:///C:/Users/Dell/Downloads/JBES-Vol-12-No-2-p-211-220%20(2).pdf.
NCSALL. (2006). Activity-based Instruction: Why and How. Retrieved from www.ncsall.net/fileadmin/resources/teach/GED_inst.pdf.
OECD. (2017). PISA 2015 Assessment and Analytical Framework: Science, Reading, Mathematic, Financial Literacy and Collaborative Problem Solving. PISA: Paris OECD Publishing. Retrieved from http://dx.doi.org/10.1787/97892642818 20-en.
Pasha, S. (2016). An activity-based learning model for teaching of soft skills to prospective teachers. Pakistan Journal of Social Sciences. 36 (2), 1265-1279. Retrieved form https://www.bzu.edu.pk/PJSS/Vol36No 22016/PJSS-Vol36-No2-56.pdf.
Trott, D. C. (2019). Children’s constructive climate change engagement: Empowering awareness, agency, and action. Environmental Education Research, 1-23. Retrieved form doi:10.1080/13504622.2019.1675594.