การศึกษาชนิดและปริมาณขยะพวงหรีด ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ชนิด ปริมาณ และแนวทางการจัดการขยะพวงหรีดที่เกิดจากงานพิธีศพในพื้นที่ศึกษา ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน กรุงเทพมหานคร เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและการสำรวจโดยใช้แบบสำรวจบันทึกข้อมูล ชนิดและปริมาณพวงหรีดที่พบ ณ ศาลาสวดอภิธรรมศพจำนวน 25 ศาลา สำรวจข้อมูล 12 วัน ผลการศึกษาพบว่ามีปริมาณพวงหรีด 62 - 813 พวงต่อวัน ปริมาณพวงหรีดเฉลี่ยที่พบต่อวันเท่ากับ 207 พวง (SD 80) จำแนกพวงหรีดได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ พวงหรีดดอกไม้สดพบเฉลี่ย 180 พวงต่อวัน (86.82%) พวงหรีดกระดาษพบเฉลี่ย 12 พวงต่อวัน (5.64%) พวงหรีดพัดลมพบเฉลี่ย 9 พวงต่อวัน (4.60%) พวงหรีดต้นไม้พบเฉลี่ย 5 พวงต่อวัน (2.38%) และพวงหรีดชนิดอื่นๆ เช่น จักรยาน เสื่อ ผ้า นาฬิกา หนังสือและดอกไม้ประดิษฐ์ พบเฉลี่ย 1 พวงต่อวัน (0.56%) ดังนั้น ขยะพวงหรีดส่วนมากมาจากพวงหรีดดอกไม้สด ซึ่งมีแนวทางจัดการโดยประยุกต์ใช้กลยุทธ์การจัดการสิ่งแวดล้อมและหลักการเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดมาเป็นแนวทางการจัดการขยะพวงหรีดดอกไม้สดโดยเน้นการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด การใช้ซ้ำ และการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบฌาปนสถานประกาศควรนโยบายงดรับพวงหรีดดอกไม้สด สนับสนุนผลิตภัณฑ์ใช้ซ้ำได้ เช่น พวงหรีดเครื่องครัว พวงหรีดเก้าอี้ หรือเปลี่ยนวัตถุดิบผลิตพวงหรีดเป็น ผ้า เสื่อ กระดาษสา หรือวัสดุเหลือใช้ เช่น ขวดพลาสติก ซองกาแฟ ทดแทนดอกไม้สด และการปรับปรุงการดำเนินการ เช่น บริการให้เช่าพวงหรีดต้นไม้หรือพวงหรีดดอกไม้ประดิษฐ์ ส่วนขยะพวงหรีดดอกไม้สดนำมาแยกส่วนประกอบเพื่อนำวัสดุ เช่น โครงฟาง โอเอซิส ไม้แหลม มาใช้ซ้ำหรือจำหน่าย ดอกไม้ใบไม้สดแปรรูปเป็น ดอกไม้แห้ง กระดาษสา หรือหมักปุ๋ย ส่วนถุงพลาสติก เศษพลาสติก เศษลวด เศษกระดาษ ยางรัด และลวดเย็บกระดาษนำไปฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
Article Details
References
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2550). ตำราระบบบำบัดมลพิษอากาศ. (พิมพิ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คมชัดลึก ออนไลน์. (2566). พวงหรีดเสื่อ “ลฤก” รักษ์โลกจนวาระสุดท้าย ระลึกถึงคนตายแบบลดขยะ 100%. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.komchadluek. net/quality-life/environment/550854
ณิชา ศรีประเสริฐ. (2558). โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับตกแต่งงานสวดอภิธรรมจากพวงหรีดเหลือใช้. ศิลปนิพนธ์หลักสูตรศิลปบัณฑิต ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์: มหาวิทยาลัยศิลปากร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.thapra. lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000011468
ไทยพับลิก้า ออนไลน์. (2554). ธุรกิจงานศพ (3) : พวงหรีดธุรกิจ 4 พันล้าน พลิกจากสร้างขยะรับกระแสโลกร้อน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: https://thaipublica.org/ 2011/10/funeral3/
ปิยะธิดา สีหวัฒนกุล, อนุสรณ์ ใจทน, และ กิตติ ยอดอ่อน. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์งานไว้อาลัยจากแกลบ: กรณีศึกษาชุมชนบางตาโฉลง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 13 (1), ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/irdssru/article/view/248180
ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์. (2560). วัดคูหาสวรรค์ ขึ้นป้ายขอความร่วมมือ “งดพวงหรีดดอกไม้สด” เพื่อลดขยะ ขอสิ่งของใช้ประโยชน์ได้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/general/news-73598
ผู้จัดการ ออนไลน์. (2566). Take a wreath (เทกอะรีธ) ธุรกิจพวงหรีดให้เช่า เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: https://mgronline.com/ business/detail/9660000075800
ภูษิต เรืองอุดมกิจ. (2023). พวงหรีดผ้าห่อศพจากแบรนด์ “นิรันดร์” ลดขยะ ลดโลกร้อน ส่งผู้ล่วงลับอย่างรักษ์โลกมากขึ้น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.beartai. com/hackforhealth/well-being/1267158
ราชกิจจานุเบกษา. (2484). แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดให้วัดพระศรีมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก. เล่ม 58, ตอน 0 ง, 7 กรกฎาคม 2484, หน้า 2154. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/ PDF/2484/D/2154.PDF
รุจิราภา งามสระคู. (2560). พวงหรีด: วัฒนธรรมตะวันตกที่งอกงามในประเพณีไทย วารสารกระแสวัฒนธรรม 18 (33), 79-95. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2565. แหล่งที่มา: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/88527
รุจิราภา งามสระคู. (2561). โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาต้นแบบพวงหรีดเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13 (1), 252-266.
ศรีทวน คำวัตร. (2554). การใช้หลักการประเมินวงจรชีวิตกับพวงหรีดดอกไม้สดที่ใช้ในงานฌาปนกิจ: กรณีศึกษาวัดในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
สำนักงานนโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2564 ก). เศรษฐกิจหมุนเวียน โอกาสใหม่ของธุรกิจ ที่สามารถพลิกมาใช้ในชีวิตประจำวัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.nxpo.or.th/th/9024/
สำนักงานนโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2564 ข). (ร่าง) สมุดปกขาวการพัฒนาระบบเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน: โปรแกรมปักหมุดเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมธุรกิจและเทคโนโลยี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www. nxpo.or.th/th/report/6724/