การพัฒนาเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมการผลิตสื่อดิจิทัลสำหรับครูประถมศึกษา

Main Article Content

สหะ พุกศิริวงศ์ชัย

บทคัดย่อ

           การพัฒนาเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมการผลิตสื่อดิจิทัล สำหรับครูประถมศึกษา ดำเนินการในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมการผลิตสื่อดิจิทัลสำหรับครูประถมศึกษา 2) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ออนไลน์ด้านการผลิตสื่อดิจิทัลของครูประถมศึกษา และ 3) เพื่อวัดเจตคติต่อเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมการผลิตสื่อดิจิทัลสำหรับครูประถมศึกษา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) และการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ประกอบด้วย ครูระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขตพื้นที่การศึกษา เขต 1  เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  เรื่อง สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ออนไลน์และสมรรถนะด้านการผลิตสื่อดิจิทัลของครูประถมศึกษา แบบประเมินคุณภาพเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมการผลิตสื่อดิจิทัลสำหรับครูประถมศึกษาเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการผลิตสื่อดิจิทัลของครูประถมศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อวัดความรู้สมรรถนะด้านการผลิตสื่อดิจิทัลของครูประถมศึกษา แบบวัดเจตคติด้านการผลิตสื่อดิจิทัลสำหรับครูประถมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test for dependent samples
           ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมการผลิตสื่อดิจิทัลสำหรับครูประถมศึกษา พบว่าสื่อออนไลน์ที่ได้มีประสิทธิภาพ 83/80.5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ออนไลน์ด้านการผลิตสื่อดิจิทัลของครูประถมศึกษา พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และ 3) วัดเจตคติต่อเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมการผลิตสื่อดิจิทัลสำหรับครูประถมศึกษา พบว่าผลประเมินเจตคติของครูประถมศึกษาต่อสื่อเกมมิฟิเคชัน อยู่ในระดับ 4 หมายถึงมีเจตคติเห็นด้วยต่อชุดสื่อออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้บอร์ดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถการเรียนรู้ในรายวิชาพัฒนาการแบบเรียนภาษาไทยและความสุขในการเรียนรู้สาหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ.

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,สำนักงาน. (2554). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 - 2559. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

จุรีพร มุลนี. (2565). ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.

เจริญ ภูวิจิตร. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสหตร์. 15 (40), 2563-2567.

พริษฐ์ วัชรสินธุ. (2564). ทางออกการศึกษาไทยยุคโควิด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://workpointtoday.com/covid-policy-lab-education/

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://tdri.or.th/ 2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic/

ลัดดาวัลย์ สะอิ้งทอง และวัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง. (2564). แนวทางการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. วารสารการบริหารนิติบุคคลและวัตกรรมท้องถิ่น. 7 (2),

สุพัชชา คงเมือง และ ดวงพร โสมสุข. (2563). การพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อเสริมทักษะการสอบภาษาอังกฤษ RMUTSV Test. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. 6 (1), 18-28.

สมหมาย ปาริจฉัตต์. (2564). การศึกษาไทย ในวันวิกฤต โควิด รอบ 2. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/article/news_2528182

สฤณี อาชวานันทกุล. (2564). สำรวจเทรนด์การศึกษาโลกที่เปลี่ยนไปเพราะ COVID-19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.eef.or.th/future-of-thai-education-after-covid19/

อินทิรา ชูศรีทอง, ไชยา ภาวะบุตร และ วัฒนา สุวรรณไตรย์. (2563). รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10 (2), 98-111.

BrandInside. (2564). อุปกรณ์ไม่พร้อม เวลาไม่มี รูปแบบไม่ได้ อุปสรรคเรียนออนไลน์ ยุคโควิดระบาด ที่ต้องเร่งแก้ไข. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา https://brandinside.asia/e-learning-challenge-in-covid/