การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD

Main Article Content

เยาวรัช ทองเสริม

บทคัดย่อ

          การจัดการเรียนรู้นักเรียนจำเป็นต้องฝึกคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เชื่อมโยงความรู้เดิมกับประสบการณ์ใหม่และลงมือปฏิบัติ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนจะทำให้มีความรู้ความเข้าใจที่คงทน การวิจัย  มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อนของนักเรียนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 (2) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ของนักเรียนตามแนวการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD (4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD และ (5) ศึกษาความคงทนต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนที่ 1 จัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ห้องเรียนที่ 2 จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน (3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (E1/E2) ใช้ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยในระหว่างการจัดกิจกรรม/ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดกิจกรรมโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้การทดสอบค่าที ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและความคงทนต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ใช้สถิติค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ 
ผลการวิจัยพบว่า
          1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์  รื่อง จำนวนเชิงซ้อน ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ของนักเรียน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 57/84.78 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
           2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ตามแนวการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.90/84.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
           3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ไม่แตกต่างกัน ที่นัยสำคัญสถิติ ที่ระดับ .05
           4. ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD อยู่ในระดับมาก
            5. ความคงทนต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 89 มีความคงทนในการเรียนรู้คิดเป็น ร้อยละ 16.89 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 66.22 มีความคงทนในการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 18.11 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกาญจน์ เซี่ยงจง. (2560). การพัฒนาผลการเรียนโดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค

STAD เรื่อง ฟังก์ชันกำลังสอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: http://www.edu- journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/2027.ru

กรรณิการ์ หาญพิทักษ์. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อมโนทัศน์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องรูปสามเหลี่ยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณพิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

แก้วมะณี เลิศสนธิ์ และสพลณภัทร ทองสอน. (2558). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 26 (1), 147-158.

ทิศนา แขมมณี. (2544).วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ณิชา เมทา, จิตราภรณ์ บุญถนอม และ นพพร แหยมแสง. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/ AbstractPdf/2563-3-1_1626158518_6114621008.pdf

ธณัชชา จันทกาญจน์ และกรวิกา ก้องกุล. (2561, กรกฎาคม). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ลำดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACTIVITIES BASED ON CONSTRUCTIVISM ON SEQUENCES FOR MATHAYOMSUKSA 5. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561 (หน้า 195-205) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

จังหวัดปทุมธานี.

พัชรี เรืองสวัสดิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เพ็ญศิริ ศรีชมภู. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD ขอนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สุวินทวงศ์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2565. แหล่งที่มา: http://www.edu- journal. ru.ac.th /index.php/abstractData/viewIndex/23.ru

ยุรพงษ์ ฉัตรศุภสิริ. (2553). การเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ STAD กับการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยุวธิดา อัคฮาด และวีระยุทธ จันลา (2565). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการผ่านบทเรียน

ออนไลน์ เรื่อง “รักเรา รักษ์โลก” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม). Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (3), 1-16.

วันซัลมา ปานากาเซ็ง. (2560). กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง กำหนดการเชิงเส้นโดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketcbpad สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลยับูรพา.

ศุภนัส นงค์นวล. (2562). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัค ติวิสต์เรื่อง สถิติเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เสรี คำอั่น. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณทิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เสรี คำอั่น และกิรณา จิรโชติเดโช. (2562, ตุลาคม - ธันวาคม). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์. Journal of Education Studies วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47 (ฉบับเพิ่มเติม 2), 328-344.

Shelly, M. W. (1975). Responding to social change. Stroudsburg, PA: Dowden Hutchision & Press.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning: Theory, research, and practice. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.