การแปรคำศัพท์ภาษาไตหย่าที่ใช้พูดที่ตำบลโม่ซา (Mosha) อำเภอซินผิง (Xinping) มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางสังคมด้านอายุและถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้พูดภาษาไตหย่าที่ตำบลโม่ซา (Mosha) อำเภอซินผิง (Xinping) มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีผลต่อการแปรคำศัพท์ภาษาไตหย่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บอกภาษาหมู่บ้านต้าหมันหลง (Damanlong) และหมู่บ้านหนานฮาว (Nanhao) แบ่งผู้บอกภาษาออกเป็น 3 กลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 อายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มที่ 2 อายุ 30-40 ปี และกลุ่มที่ 3 อายุ 10-20 ปี กลุ่มละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บัตรคำจำนวน 100 หน่วยอรรถ รูปภาพ และเครื่องบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา โดยมีตารางและแผนภูมิประกอบเพื่อให้เห็นการเปรียบเทียบที่ชัดเจน
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลและภูมิหลังของผู้บอกภาษา ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ การศึกษา อาชีพ และความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาจีนกลาง (Mandarin) แตกต่างกัน ส่งผลต่อการแปรคำศัพท์ภาษาไตหย่า ผลการวิจัยนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของภาษาประจำชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของภาษากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ยิ่งไปกว่านั้น ภาษาไตหย่าที่ใช้พูดทั้งสองหมู่บ้านมีแนวโน้มที่จะถดถอยในระยะเวลาอันใกล้จากการที่ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงการแปรคำศัพท์ภาษาไตหย่าที่พบในกลุ่มที่ 3 อายุ 10-20 ปี เป็นจำนวนมาก โดยการใช้คำศัพท์ภาษาไตหย่าที่ใช้พูดที่หมู่บ้านต้าหมันหลง ปรากฏการแปรคำศัพท์มากกว่าภาษาไตหย่าที่ใช้พูดที่หมู่บ้านหนานฮาว ด้วยหมู่บ้านต้าหมันหลงเป็นชุมชนเมือง เป็นเมืองเศรษฐกิจ และมีโอกาสในการสัมผัสกับภาษาจีนมาตรฐานมากกว่าหมู่บ้านหนานฮาวที่อยู่ห่างไกลออกไป สำหรับรูปแปรคำศัพท์ภาษาไตหย่าในงานวิจัยนี้ พบการแปรทั้งในระดับเสียง ระดับโครงสร้างพยางค์ และระดับคำ
Article Details
References
ประเทือง ทินรัตน์. (2559). การสัมผัสภาษาของผู้พูดภาษาไตหย่า อำเภอซินผิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 24 (46), 331-347.
ปราณี กุลละวณิชย์ และคณะอักษรศาสตร. (2560). ภาษาทัศนา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราณี กุลละวณิชย์ และคณะอักษรศาสตร. (2532). ภาษาทัศนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล. (2546). การเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์: กรณีศึกษาภาษากลุ่มลาว. สาขาวิชาภาษาศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2562). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อ: กรณีการจัดการศึกษาแบบทวิภาษา (ภาษาไทย-มลายูถิ่น) ในโรงเรียนเขตพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระยะที่ 3). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2557). ความล้มเหลวในการศึกษาของชาติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.
ศิริรัตน์ มูลตุ้ย. (2553). การวิเคราะห์การแปรของภาษายองด้านคำศัพท์และการใช้คำศัพท์ของคนสามระดับอายุในตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
วาริด เจริญราษฎร์. (2563). การแปรการใช้คำกริยาภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) ตามระดับอายุของผู้ใช้ภาษา ในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 14 (1), 28-40.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2556). ภาษาศาสตร์สังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Dawkins, K. (2008). A Sociolinguistic Survey of Tai Ya in Thailand. Research Report. College: Payap University.
Dao, L.Q. (2004). Language Use Survey of the Dai Nationality in Yuanjiang -A Case Study of Yinjiao Village in Lijiang Town. Research Report. College: Sichuan Southwest University of Science and Technology.
Liu, Z. H. (2010). Hua Yao Dai Li Su. (1st ed.). Yun Nan: The Ethnic Publish Press.
UNESCO. (2021). The World Atlas of Languages. Online. Retrieved November 24, 2021. From: https://www.unesco.org/en/articles/unesco-launches-world.
Xin, G. W. (1980). Hong He Shang You Dai Ya Yu. Bei Jing: The Language Press.
Yang, W. X. (2006). Hua Yao Dai Yu. (1st ed.). Yun Nan: The Ethnic Publish Press.
Yang, W.X. (2004). On the Phonemic System of the Huayao Dais in Xinping County and its Diachronic Phonetic Changes. Yunnan University for Nationalities. 21 (2), 126-128