การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงอาหารปลอดภัยในสถานประกอบการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

วิชาญ ดำรงค์กิจ
พัชราภรณ์ กระต่ายทอง
เดชา บัวเทศ
ประจวบ แสงดาว

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษา ระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของผู้ประกอบการร้านอาหาร ในสถานประกอบการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเพื่อพัฒนารูปแบบโรงอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ (Healthy Canteen) แบบมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ ของผู้ประกอบการร้านอาหาร และปัญหาในการจัดการโรงอาหาร 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม 3) ศึกษาวิธีการพัฒนาโรงอาหารให้ได้มาตรฐาน และ4) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาโรงอาหารปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ (Healthy Canteen) เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า หลังการดำเนินงาน ระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ ของผู้ประกอบการร้านอาหาร อยู่ในระดับดี วิธีการพัฒนาโรงอาหารให้ได้มาตรฐาน ประกอบด้วย 1)การสำรวจสภาพปัญหา และความต้องการในการพัฒนา 2) จัดทำขั้นตอนการพัฒนาโรงอาหาร ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ 3) จัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาโรงอาหาร ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ 4)ประเมินผลการพัฒนา ประกอบด้วย 1) มีนโยบายการดำเนินงานโรงอาหารปลอดภัย 2) มีคณะกรรมการคณะกรรมการสุขาภิบาลอาหาร 3) มีการตรวจสุขภาพผู้ประกอบการ 4) มีการคัดเลือกวัตถุดิบที่ปลอดภัย 5) มีระบบสุขาภิบาลที่ปลอดภัย 6)ทำความสะอาดโรงอาหารทุกสัปดาห์ 7.การจัดอบรมตามกฎกระทรวงสุขลักษณะสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 ควรมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับ ผู้ประกอบการ และนำกระบวนการแบบมีส่วนร่วมมาดำเนินการร่วมด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มพัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). การเฝ้าระวังสถานการณสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการด้านอาหาร ประจำปี 2558. ออนไลน์. สืบค้น 21 เมษายน 2565, จาก https://foodsan.anamai.moph.go.th/th/research?page=2

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2563. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2563 [e-book]. นนทบุรี: กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ดวงใจ มาลัย, นิตยา เหมาวนิค, กนกนาฏ แขงามขำ, ศันสนีย์ ศรีพาย. (2558). การประมินความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติด้านความปลอดภัยอาหารของผู้สัมผัสอาหารในโรงอาหาร. วารสารอาหาร. 45 (3), 67-78.

ธนชีพ พีระธรณิศร์, ดุสิต สุจิรารัตน์, ศิราณี ศรีใส. (2558). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสภาวการณ์สุขาภิบาลอาหารในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 45 (3), 230-243.

นภสร เมืองแพน. (2556). การมีส่วนร่วมของเยาวชนในการปรับเปลี่ยนสภาวะสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือน กรณศึกษาบ้านหนองบัวเงิน ตำบลอูบมุง อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

น้ำทิพย์ เตรียมการ และนฤมล นันทรักษ์ (2558) การวิจัยและพัฒนาร้านอาหารให้ได้มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 11 (3), 156.

บัญชา พจชมานะวงศ์. (2561). ต้นแบบการพัฒนากรุงเทพมหานครสู่เมืองแห่งอาหารการกินด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสยาม.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และ วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. ออนไลน์. สืบค้นจากhttps://kb.hsri.or.th/dspace/ handle/11228/5425

วัชรินทร์ ทองสีเหลือง. (2562). การพัฒนาการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ภัทริกา ต่างใจเย็น. (2551). การจัดการสุขาภิบาลอาหารแบบมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการร้านอาหารและแผงลอย ในเขตเทศบาลตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ระบบคลังข้อมูลด้านสุขภาพ. (2564). สาเหตุการป่วย 5 อันดับแรก. ออนไลน์. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/

hdc/reports/page.php?cat_id=491672679818600345dc1833920051b2

ลลนา ทองแท้.(2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักสูตรสุขวิทยาส่วนบุคคลด้านสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในเทศบาลนครรังสิต. ออนไลน์. สืบค้น 6 พฤษภาคม 2565, จาก http://ethesisar chive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5517030283_3022_6385.pdf

วิชัย ชูจิต (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหาร จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

สันติสิทธิ์ เขียวเขิน. (2542). การจัดการความสะอาดและความปลอดภัยของร้านอาหารแผงลอยในเขตเทศบาลเมืองพิจิตร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). เอกสารสรุปผลที่สำคัญการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2553. Online. Retrieved 23 ตุลาคม 2565. from http://www.nso.go.th

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีรัตน์ ปิตยานนท์, ดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถติที่เหมาะสมสาหรับการวิจัย.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). คู่มือการปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำสำหรับสาธารณสุขอำเภอ ข้อกำหนด/มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อรพิน สุขสองห้อง, วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ และ ธีตา ศรีคช. (2560). การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสุขาภิบาลอาหารของ ผู้จำหน่ายอาหารริมบาทวิถี: กรณีศึกษา ถนนสังคโลก. Networking in the Smart City. การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2561 มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. 101-110.