การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

Main Article Content

เกษม เที่ยงรอด

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหาและความต้องการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนำรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ดำเนินการในพื้นที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ทำการศึกษาในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอวัดสิงห์ จำนวน 21 คน และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 135 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหาและความต้องการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า อำเภอ   วัดสิงห์มีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ร้อยละ 2.93 เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ขาดคนดูแลและอุปกรณ์ดำรงชีวิต มีผู้จัดการและผู้ดูแลไม่เพียงพอ ต้องการรับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ผลการพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงคือ การเพิ่มสัดส่วนของผู้จัดการและผู้ดูแลให้เพียงพอ อบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงให้มีความสามารถในการดำเนินกิจวัตรประจำวันดีขึ้น และประสิทธิผลของการนำรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงไปใช้ในพื้นที่อำเภอวัดสิงห์ส่งผลทำให้สัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงลดลงจากร้อยละ 2.93 เหลือร้อยละ 2.43 ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ การมีส่วนร่วมและการสนับสนุนขององค์กรภาครัฐ ภาคท้องถิ่น ภาคประชาชนในรูปแบบบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ กองทุนสวัสดิการชุมชน และคลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้  ควรสร้างความร่วมมือให้ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐภาคท้องถิ่น และภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น อันจะส่งทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2559). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2566. แหล่งที่มา : http://www.dop.go.th/th/know/5/24.

ปิยรัตน์ ยาประดิษฐ์ และอรสา กงตาล. (2563). การพัฒนาการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 40 (3), 48-65.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฏฐ์ฐิตตา เทวาเลิศสกุล และคณะ. (2559). แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจากภาระให้เป็นพลังกรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9 (1), 529-545.

ศศินันท์ สายแวว และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. (2564). การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 7 (4), 197-212.

สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย. (2561). เอกสารประกอบการนำเสนอการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูประบบสาธารณสุขด้านระบบบริการสุขภาพส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคแพทย์แผนไทยและศูนย์กลางด้านการแพทย์ครั้งที่ 2/2561 วันที่ 20 ธันวาคม 2561. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). รายงานสถิติรายปีประเทศไทย 2561. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรปริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวัดสิงห์. (2564). รายงานประจำปี 2564 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท. (เอกสารอัดสำเนา).

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2561). คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

อนุชา ลาวงศ์ และคณะ. (2564). รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนท้องถิ่น จังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Modern Learning Development. 6 (2), 268-277.

อัญธิชา รุ่งแสง และคณะ. (2562). โมเดลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนอย่างมีส่วนร่วมของเทศบาลตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 12 (5), 1299-1315.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers. (202-204).

Kemmis, S & McTaggart, R. (1998). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University.