โมเดลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำดิจิทัล บรรยากาศโรงเรียน ความคล่องตัวขององค์กร ผ่านสมรรถนะครูที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุวิตรา บุญแจ้ง
วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์
อัจฉรา นิยมาภา
สุพจน์ เกิดสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดภาวะผู้นำดิจิทัล บรรยากาศโรงเรียน ความคล่องตัวขององค์กร สมรรถนะครูและประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำดิจิทัล บรรยากาศโรงเรียน ความคล่องตัวขององค์กร ผ่านสมรรถนะครูที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำดิจิทัล บรรยากาศโรงเรียน ความคล่องตัวขององค์กร ผ่านสมรรถนะครูที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานวิชาการ จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สมการโครงสร้าง การวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษากรอบแนวคิด พบว่า ภาวะผู้นำดิจิทัล บรรยากาศโรงเรียนความคล่องตัวขององค์กร สมรรถนะครู ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ผลการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำดิจิทัล บรรยากาศโรงเรียน ความคล่องตัวขององค์กร ผ่านสมรรถนะครูที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความเหมาะสม 3) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำดิจิทัล บรรยากาศโรงเรียน ความคล่องตัวขององค์กร ผ่านสมรรถนะครูที่ส่งผลต่อครูประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 =170.53 df = 1.24 P-value=0.05154,GFI=0.97,AGFI=0.94,RMR=0.022 และ RMSEA=0.020)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชื่นกมล ประสาตร์. (2561). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(1), 15-21.

ทินพันธ์ บุญธรรม. (2556). การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนที่ขาดแคลนครูคณิตศาสตร์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปกร, 5(1), 45-56.

พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2560). ความสัมพันธ์รหว่างสมรรถนะหลักกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 144-157.

พวงเพ็ญ อินทรประวัติ. (2564). สมรรถนะของครู 4 ด้านที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด. วารสารวิชาการการศึกษาศาสตร์, 22(1), 180-195.

เมธาพร เชื้อหอม. (2559). บรรยากาศองค์การในโรงเรียน ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วารสารราชนครินทร์, 99-110.

ฤทธิกร โยธสิงห์. (2565). ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานการณ์ชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(38), 145-154.

เลอศักดิ์ ตามา. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(38), 224-240.

วิไลวรรณ มาลัย. (2562). สมรรถนะหลักตามเกณฑ์บ่งชี้สมรรถนะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(2), 109-118.

สุภัสร ชูประยูร. (2563). การศึกษาบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 12(3), 152-170.

สุรีย์รัตน์ พัฒนเธียร. (2552). ตัวแบบความสามารถทางภาวะผู้นำครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารเกษตรศาสตร์, 30(2), 130-142.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: http://gpa.tmk.ac.th/teacher/capasity.pdf

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2562). Digital Literacy Project. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). รายงานการประชุมสัมมนาผลการเรียนรู้ของเด็กไทยในสถานการณ์โควิด-19 : ข้อค้นพบ และข้อเสนอเพื่อการพัฒนา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: http://fliphtml5.com/wbpvz/hiyo.

Ayu Meryka Santoso. (2021). ANALYSIS OF LEARNING AGILITY IN THE PERFORMANCE OF ACHIEVEMENT TEACHERS IN YOGYAKARTA. Jurnal Pedagogik, 8(1), 77-122.

Eric Sheninger. (2014). Digital Leadership: Changing Paradigms for Changing Times. Online. Retrieved April 24, 2022. from: https://books.google.co.th/books?id=MjifAgAAQBAJ&printsec=frontcover&hl=th&source=gbs_ge_summary_r&cad=0#v

=onepage&q&f=false.

Laksmi M Wijayanti. (2021). Organizational Agility in Educational Setting: A Case Study of Sekolah Murid Merdeka. Jurnal Studi Guru dan Pembelajaran, 4(3), 649-661.

Menon, S and Suresh, M. (2020). Organizational Agility Assessment for Higher Education Institution. The Journal of Research on the Lepidoptera, 51(1),561-573.

Menon, S and Suresh, M. (2021). Factors influencing organizational agility in higher education. Benchmarking:An International Journal, 28(1), 307-332.

OECD. (2018). Teaching for the Future: EFFECTIVE CLASSROOM PRACTICES TO TRANSFORM EDUCATION. Online. Retrieved May 26, 2022. from: https://abdigm.meb.gov.tr/meb_iys_dosyalar/2019_06/13163543_OECD_TEACHING_FOR_FUTURE_2018.pdf

Rini Agustina. (2020). Influence of the Principal’s Digital Leadership on the Reflective Practices of Vocational Teachers Mediated by Trust, Self Efficacy, and Work Engagement. International Journal of Learning, Teaching and Educational Research, 19(11), 24-40.

Ying Lu, K. Ramamurthy. (2011). Understanding the Link Between Information Technology Capability and Organizational Agility: An Empirical Examination. MIS Quarterly, 35(4), 931-954.