การพัฒนารูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1

Main Article Content

อติกานต์ ทองมาก
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์
บุญมี เณรยอด

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยสัมภาษณ์ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่าย 1 ท่าน จากสถานศึกษา 10 แห่ง สำรวจความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าฝ่าย 4 ฝ่าย จากสถานศึกษา 99 แห่ง ด้วยแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1  สัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน สนทนากลุ่มผู้ปฏิบัติ โดยผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้าฝ่าย 1 ท่าน จากสถานศึกษา 9 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้า 4 ฝ่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และรายงานตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
          ผลการศึกษา พบ 5 องค์ประกอบของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 เรียงลำดับตามดัชนีความต้องการจำเป็น ดังนี้ การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing)  การคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking) ผู้นำทางความคิด (Opinion Leader) ผู้รู้รอบด้าน (Generalist) และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Unity) นำมาพัฒนาเป็น KIOGU Learning Organization Model รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ที่มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความสอดคล้อง มีความเป็นประโยชน์ทุกองค์ประกอบ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. เอกสารลำดับที่ 1/2564. สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1.

เจษฎา นกน้อยและคณะ. (2552). นานาทรรศนะการจัดการความรู้และการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้.กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทิยา ขัมพานนท์. (2560). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ภัทรศรี อินทร์ขาว. (2561). การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างความผูกพันของพนักงานบริษัทธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วิจารณ์ พานิช และประพนธ์ ผาสุขยืด. (2550). การจัดการความรู้เพื่อการเป็นองค์กรอัจฉริยะ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. (2553). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ท.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1. (2563). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563. เอกสารลำดับที่ 7/2564. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1.

Estrada, N. (2009). Exploring perceptions of a learning organization by RNs and a relationship to EBP beliefs and implementation in the acute care setting. Worldview on Evidence -Based Nursing, 6 (4), 200-209.

Marquardt. (1996). Building the Learning Organization: A System Approach to Quantum Improvement and Global Success.

Mohanty, K., & Kar, S. (2012). Achieving innovation and success: organizational learning. SCMS Journal of Indian Management. 9 (1), 36-42.

Nguyen, Nhien & Huber, George P. (2019). Making a difference through organizational learning. Emerald Publishing Limited. TLO 26 (1), 7-11.

Senge, Peter. (1990). The Fifth Discipline The Art & Practice to the Learning Organization. United States of America: Doubleday.

Stefan Hrastinski. (2008). “A study of asynchronous and synchronous e-learning methods discovered that each supports different purposes.” Educause Quarterly, 31(4), 51-55.