การพัฒนางานทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับกรอบการประเมินของ PISA เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียน

Main Article Content

สุทธารัตน์ บุญเลิศ
ธัญญา กาศรุณ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนางานทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับ
แนวทางการประเมินของ PISA ที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียน 2) วิเคราะห์ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนจากผลของงานทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับแนวทางการประเมิน
ของ PISA ดำเนินการโดยใช้การวิจัยเชิงออกแบบ 3 ระยะ คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นออกแบบ และขั้นการวัดประเมิน ซึ่งในขั้นที่ 3 มีการวัดประเมินงาน/โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 5 ขั้นตอน คือ การประเมินด้วยตนเอง การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ การทดลองแบบรายบุคคล การทดลองกลุ่มย่อย และการทดลองภาคสนาม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน ที่มีอายุ 12 ปี
ขึ้นไป (ตามความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึก 2) แบบสัมภาษณ์
และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การบรรยายเชิงวิเคราะห์ การวิเคราะห์เอกสาร และวิเคราะห์แบบสอบถามความคิดเห็นโดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผลการออกแบบและพัฒนางานทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับแนวทางการประเมินชอง PISA ที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ของนักเรียน มีความเป็นไปได้และส่งผลต่อการพัฒนาทักษะของนักเรียน
          2. งานทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับกรอบการประเมินของ PISA ที่ออกแบบ ส่งผลต่อความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2561). ผลการประเมิน PISA 2015วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สสวท.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2563). ผลการประเมินการอ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ PISA 2018. กรุงเทพมหานคร: สสวท.

Kamaliyah, K, Zulkardi, Z, Darmawijoyo. (2013). Developing the Sixth Level of PISA-Like Mathematics Problems for Secondary School Students. 4 (1), 9-28. DOI: https://doi.org/10.22342/jme.4.1.559.9-28

OECD. (2021). PISA 2021 INTEGRATED DESIGN. Online. Retrieved on 1 December 2022. Available from: https://www.oecd.org/pisa/pisaproducts/pisa-2021-mathematics-framework-draft.pdf

Oktiningrum, W., Zulkardi, & Hartono, Y., (2016). Developing PISA-like mathematics task with Indonesia natural and cultural heritage as context to assess students' mathematical literacy. Journal on Mathematics Education. 7 (1), 1-8. DOI: http://dx.doi.org/10.22342/jme.7.1.2812.1-8

Stacey, K., Almuna, F., Caraballo, R. M., Chesné, J. F., Garfunkel, S., Gooya, Z., ... & Perl, H. (2015). PISA’s influence on thought and action in mathematics education. In Assessing Mathematical Literacy. Springer, Cham.