การพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ด้วยเทคนิคเดลฟายแบบเรียลไทม์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารด้วยเทคนิคเดลฟายแบบเรียลไทม์ และ 2. เพื่อหาฉันทามติเกณฑ์ และตัวบ่งชี้ของเกณฑ์การประเมินการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยใช้ทฤษฎีรัฟเซต เป็นการวิจัยแบบผสมผสานด้วยการสัมภาษณ์ลักษณะกึ่งโครงสร้าง ตรวจสอบชุดข้อมูลของเกณฑ์การประเมินการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารเบื้องต้น และวิจัยเชิงปริมาณด้วยเทคนิคเดลฟายแบบเรียลไทม์ มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามออนไลน์โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบเรียลไทม์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงอาหาร จำนวน 5 คน และผู้ที่มีความรู้ด้านอาหารท้องถิ่น หรือเชฟชุมชน จำนวน 4 คน รวมเป็นจำนวน 9 คน ตามเกณฑ์จำนวนของผู้ให้ข้อมูลขั้นต่ำ และกลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นด้วยเทคนิคเดลฟายแบบเรียลไทม์ จำนวน 3 รอบ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร จำนวน 4 คน กลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัย จำนวน 5 คน กลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว จำนวน 4 คน และกลุ่มผู้ประกอบการเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงอาหารในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่ได้รับรางวัลด้านการท่องเที่ยว จำนวน 5 คน รวมเป็นจำนวน 18 คน ซึ่งเป็นตัวแทนตามเกณฑ์ในการกำหนดขนาดของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง นำข้อมูลที่รวบรวมได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาวิเคราะห์เนื้อหา และนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามออนไลน์โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบเรียลไทม์มาวิเคราะห์หาฉันทามติด้วยทฤษฎีรัฟเซต ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาเกณฑ์การประเมินการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ด้วยเทคนิคเดลฟายแบบเรียลไทม์ ประกอบด้วย 10 เกณฑ์ 36 ตัวบ่งชี้ 111 เกณฑ์การพิจารณา และ 2) ผลฉันทามติของเกณฑ์ และตัวบ่งชี้ของเกณฑ์การประเมินการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหาร มีค่าขอบเขตล่าง (QL) มากกว่า 0.75 ผ่านตามข้อกำหนดของทฤษฎีรัฟเซต
Article Details
References
เกียรตินาคินภัทร. (2564). พลิกท่องเที่ยวไทย ให้ฟื้นได้อย่างทรงพลัง ตอนที่ 2. ออนไลน์ .สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา https://thaipublica.org/2021/03/kkp-research22/
ภาสกรณ์ วัฒนพฤกษ์, กนก พานทอง และปิยะทิพย์ ประดุจพรม. (2564). การวิจัยเดลฟายเพื่อหาหลักการ เกณฑ์ และตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพทางการตลาดของร้านสวัสดิการแห่งรัฐ. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5 (2), 133-141.
วริศ เชาวนศิลป์ และเจริญชัย เอกมาไพศาล. (2565). การท่องเที่ยวเชิงอาหารในประเทศไทยภายใต้การระบาดของโรคโควิด-19. วารสารธรรมศาสตร์. 41 (3), 116-138.
สุมามาลย์ ปานคำ และเสรี ชัดแช้ม. (2559). การพัฒนาวิธีการวัดฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ทฤษฎีรัฟเซตในเทคนิคเดลฟายแบบอิเล็กทรอนิกส์. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา.14(2),
-101.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา http://www.nesdb.go.th/download/plan12/สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังแห่งชาติ ฉบับที่12.pdf
Espinosa, K. J. P., & Caro, J. D. (2011). A real-time web-based Delphi study on ICT integration framework in Basic Education. In international conference on telecommunication technology and applications (223-228). Singapore: IACSIT Press
Gordon, T., & Pease, A. (2006). RT Delphi: An efficient,“round-less” almost real time Delphi method.Technological Forecasting and Social Change,73, 321–333.
Gnatzy, T., Warth, J., von der Gracht, H., & Darkow, I. L. (2011). Validating an innovative real- time Delphi approach-A methodological comparison between real-time and conventional Delphi studies. Technological Forecasting and Social Change, 78 (9), 1681-1694.
Macmillan, T. T. (1971). The Delphi Technique. online. Retrieved from https://files.eric.ed.
gov/fulltext/ED064302.pdf
Nastasi, B. K., & Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of School Psychology, 43(3), 177-195.
Pawlak, Z. (1997). Rough set approach to knowledgebased decision support. European Journal of Operational Research, 99 (1), 48-57.