การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างเจตคติในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยแนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง

Main Article Content

อิทธิวดี อึ้งรัศมี
ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย
ภัทรา วยาจุต

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างเจตคติในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยแนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง 2. ศึกษาปัจจัย ข้อจำกัด  และแนวทางการใช้โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนดังกล่าว ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ขั้นตอนการดำเนินงานตามโมเดลการพัฒนาโปรแกรมเชิงสถาบันของ Boyle (1981) 5 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาสภาพปัญหา การกำหนดเนื้อหาการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ การทดลองใช้แผนการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จำนวน 334 คน ในขั้นการศึกษาสภาพปัญหา ด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และทดลองใช้โปรแกรมกับกลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จำนวน 37 คน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของเจตคติด้านความรู้สึกและการแสดงออกมีผลการประเมินในระดับปานกลาง และด้านความเชื่ออยู่ในระดับมาก  เนื้อหาที่เหมาะสมกับการกำหนดไปใช้ในการเรียนรู้ควรมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน รูปแบบการเรียนรู้ที่นำไปใช้คือแนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งประยุกต์ไปสู่แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 10 แผน และผลการเรียนรู้ยืนยันว่าโปรแกรมดังกล่าวสามารถเสริมสร้างเจตคติในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นภายหลังเสร็จสิ้นการทดลอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่องนโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการการอุดมศึกษา.

จินดา ลาโพธ. (2563). พฤติกรรมการสอนของครูกับการเรียนรู้ของผู้เรียน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 7 (5), 34-45.

จอมขวัญ รัตนกิจ. เอกสารประกอบการสอน PGED 331 ทฤษฎีและปฏิบัติการทางจิตวิทยาสังคม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: บทที่ 4.pdf (psru.ac.th)

ชนัดดา ภูหงษ์ทอง. (2561). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: ความท้าทายของผู้สอนในระดับอุดมศึกษา.

มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 24 (1), 163-182.

ชไมพร อร่ามวิทย์ และ สิตา มูสิกรังสี. (2561). เจตคติและตัวแปรที่มีผลต่อการฝึกพูดภาษาอังกฤษด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วารสารเกษมบัณฑิต, 19 (ฉบับพิเศษ), 14-26.

ณัฏฐ์นรี ฤทธิรัตน์ และธัญภา ชิระมณ, (2557). ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย. Graduate Research Conference 2014, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2839-2848.

ดารุณี ถาวรวัฒนะ, รัตนาภรณ์ ศรีพุ่มบาง, สายพิน จิตต์ศิริ และ ศิรินภา เพียรทอง. (2559). การศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษาปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, ชลบุรี. 2256-2266

พนม เกตุมาน. 2562. การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงแนวทางจิตวิทยาเชิงบวก Transformative Learning and Positive Psychology. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2562. แหล่งที่มา: https://drpanom.wordpress.com/2019/11/17

ปัญวลี เสริมทรัพย์ (2560). การใช้เทคโนโลยีในการสอนภาษาอังกฤษเพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0. วารสารมหาจุฬาคชสาร. 8 (1), 32-43.

สิริดนย์ แจ้งโห้1, สิริมา ป้วนป้อม, อมลณัฐ หุ่นธานี และสำราญ มีแจ้ง. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการอ่านภาษาอังกฤษของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารอักษราพิบูล. 2 (2), 42-56.

สมชาย รัตนทองคํา. (2550). เอกสารประกอบการสอน 475 759 การสอนทางกายภาพบําบัด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564 แหล่งที่มา: http://ams.kku.ac.th/aalearn /resource/edoc/tech/ 1philos.pdf.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ. (2562). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: การจัดการเรียนรู้ทางการพยาบาลในคลินิก. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 6 (1), 1-10.

อนงค์ จําปาจร. (2561). พฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารร้อยแก่นสาร. 3 (2), 47-61.

EF PI (EF Education First). (2565). The world’s largest ranking of countries and regions by English skills ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2565. www.ef.co.th/epi/

Shahrzad Eshghinejad. (2016). “EFL students’ attitudes toward learning English language: The case study of Kashan University students”. ResearchGate. Online. Retrieved September 8, 2019. from : www.researchgate.net/publication/ 341216346_EFL_ Students'_ Attitude_Toward_Learning_English