การให้บริการงานบริการสาธารณะจากทัศนะผู้รับบริการของเทศบาลเมืองคอหงส์ในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

นุกูล ชิ้นฟัก
วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล
นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว
เพ็ญสุข เกตุมณี
ฐิติพงศ์ เกตุอมร

บทคัดย่อ

          การให้บริการงานบริการสาธารณะจากทัศนะผู้รับบริการของเทศบาลเมืองคอหงส์ในจังหวัดสงขลาวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะของผู้รับบริการต่อการให้บริการและงานบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ สอบถามความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการต่อการให้บริการ ประกอบด้วย ด้านขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านช่องทางการให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และงานบริการสาธารณะ ประกอบด้วย งานให้บริการด้านทะเบียนราษฎร งานด้านการรักษาความสะอาดในที่สาธารณะและการจัดเก็บขยะมูลฝอย งานด้านการศึกษา และงานด้านการรับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านทางเว็บไซต์ของเทศบาลเมืองคอหงส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยนี้มีจำนวน 467 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ ผลการวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการต่อการให้บริการภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับแรก คือ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ รองลงมาคือ ด้านช่องทางการให้บริการ ด้านขั้นตอนการให้บริการและด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และ ระดับความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการต่องานบริการสาธารณะภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับแรกคือ งานด้านการศึกษา รองลงมา คือ งานให้บริการด้านทะเบียนราษฎร งานด้านการรักษาความสะอาดในที่สาธารณะและการจัดเก็บขยะมูลฝอย และงานด้านการรับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านทางเว็บไซต์ของเทศบาลเมืองคอหงส์ ผลการวิจัยนี้เทศบาลเมืองคอหงส์สามารถนำไปพัฒนาปรับปรุงการบริการสาธารณะให้กับประชาชนและกำหนดเป็นนโยบายการพัฒนาในด้านการบริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิผลต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลธร ธนาพงศ์ธร. (2550). ประโยชน์และบริการในเอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จีรภา ดังมัง. (2550). ความคาดหวังทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของสตรีในจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

มหาวิทยาลัยนครพนม. (2563). การประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลหนองเลิง อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. รายงานการวิจัย. บึงกาฬ: เทศบาลตำบลหนองเลิง.

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. (2562). การประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลนครลำปาง. รายงานการวิจัย. ลำปาง : เทศบาลนครลำปาง.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2563). ความพึงพอใจของผู้รับบริการในเขตเทศบาลนครสมุทรปราการ อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการวิจัย. สมุทรปราการ: เทศบาลนครสมุทรปราการ.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. (2563). การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการของเทศบาลตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง. รายงานการวิจัย. ระยอง : เทศบาลตำบลสำนักท้อน.

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2560). การประเมินความพึงพอใจของประซาซนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลเมืองหนองสำโรง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. รายงานการวิจัย. อุดรธานี : เทศบาลเมืองหนองสำโรง.

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. (2562). การสำรวจประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลเมืองบ้านดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. รายงานการวิจัย. อุดรธานี: เทศบาลเมืองบ้านดุง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). (2548). คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี : การบริหารความรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สุธรรม ขนาบศักดิ์. (2562). ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการงานสาธารณะของเทศบาลตำบลท่างิ้ว อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานการวิจัย. นครศรีธรรมราช : เทศบาลตำบลท่างิ้ว.

สุธรรม ขนาบศักดิ์. (2564). ประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการงานสาธารณะของเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. รายงานการวิจัย. สงขลา : เทศบาลนครหาดใหญ่.

Millett, J.D. (1997). Management in the Public Service: The Quest for Effective Performance. (5th ed.). New York : McGrow-Hill Book.