การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามหลักประชารัฐ : ทฤษฎีฐานราก

Main Article Content

เศรษฐพงษ์ ปุจฉาการ
กนก พานทอง
ปริญญา เรืองทิพย์

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพทฤษฎีฐานราก เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการวิเคราะห์เอกสาร จากผู้ให้ข้อมูลหลัก 15 คน โดยเลือกสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 4 กลุ่ม คือ 1) องค์การบริหารส่วนตำบล 2) ผู้นำชุมชน ประชาชน วัด องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรสาธารณะประโยชน์ 3) นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัย และ 4) องค์กรการสื่อสารและสื่อมวลชน ผลการวิจัยพบว่า ทฤษฎีรากฐานของการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบด้วย ปรากฏการณ์หลัก คือ กระบวนการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกะเจ้า ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ การกำหนดความต้องการร่วมกัน การสร้างทีมและตั้งเป้าหมายร่วมกัน การร่วมคิด ร่วมสร้าง ตัดสินใจร่วมกัน การพัฒนาความรู้คู่ขนานทำงานร่วมกัน และการสรุปบทเรียนและขยายผล เงื่อนไขเชิงสาเหตุ คือ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เงื่อนไขเชิงบริบท คือ การมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย เงื่อนไขเชิงสอดแทรก คือ วัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งส่งผลให้เกิดยุทธศาสตร์ที่นำมาใช้ในพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาศักยภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนานวัตกรรมการท่องเที่ยว การพัฒนาคุณภาพการสื่อสารด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรในชุมชน โดยผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้น คือ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมพล จตุพร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ประโยชน์ ส่งกลิ่น. (2551). การปฏิรูปการจัดการภาครัฐ กรณีศึกษาการจัดการภาครัฐแนวใหม่ ในประเทศไทยกับประเทศสิงค์โปร. ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมจินต์ ชาญกระบี่. (2559). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). เอกสารชุดฝึกอบรมหลักสูตร: การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา.

สีสมพร สุดทิจัก. (2563). กลยุทธ์การบริหารการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในบริบทมรดกโลกทางธรรมชาติ : กรณีศึกษาป่าสงวนแห่งชาติิหินหนามหน่อ เมืองบัวละพา แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. การบริหารการพัฒนา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุทธิชัย โล่นารายณ์. (2562). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงบูรณาการของจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

อังคณา ฤทธิกุล. (2560). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Adam, S., Kriesi, H. (2007). The network approach. In P. A. Sabatier (Ed.), Theories of the policy process. Boulder Colo.: Westview Press.

Cuthill, M., Fien, J. (2005). Capacity building: Facilitating citizen participation in local governance. Australian Journal of Public Administration, 64 (4), 63–80.

Hoatson, L., Egan, R. (2001). Rebuilding collaboration in a competitive environment: A case study. Just Policy, 21, 8–15.

Kingdon, J. W. (2003). Agendas, alternatives, and public policies. Longman New York.

Patton, M. Q. (1990). Qualitative Evaluation and Research Methods (2nd ed.). Newbury Park, CA: Sage.

Sabatier, P. (2007). Theories of the policy process (2nd ed.). Boulder Colo.: Westview Press.