กลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อและความภักดีของ ลูกค้าเครื่องไตเทียมในประเทศไทย

Main Article Content

มณฑิกานต์ เอี่ยมโซ้

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1)วิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า เครื่องไตเทียมในประเทศไทย (2)วิเคราะห์กลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้า เครื่องไตเทียมในประเทศไทย (3)เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเครื่องไตเทียมในประเทศไทยและ(4)วิเคราะห์กลยุทธ์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้า เครื่องไตเทียมในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อเครื่องไตเทียม ในประเทศไทย จำนวน 400 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ หาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสมการถดถอยพหุคูณ
          ผลการวิจัยพบว่า (1) กลยุทธ์การตลาดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเครื่องไตเทียมในประเทศไทย ได้แก่ ราคาและช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.50 (2) กลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้า เครื่องไตเทียมในประเทศไทย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์และสื่อสารการตลาดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.50(3) กลยุทธ์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเครื่องไตเทียมในประเทศไทย ได้แก่การสร้างความสัมพันธ์ด้วยเงื่อนไขสัญญาและการสร้างความสัมพันธ์ด้วยการให้ข่าวสารข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.50และ (4) กลยุทธ์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าเครื่องไตเทียมในประเทศไทย ได้แก่การสร้างความสัมพันธ์ด้านคุณค่าเพิ่มและการสร้างความสัมพันธ์ด้วยเงื่อนไขสัญญา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.50


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วาณิชบัญชา.(2552). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพธรรมสาร.

กฤษณพงศ์ มโนธรรม และสมชาย เอี่ยมอ่อง. (2545). Hemodialysis: Overview. ใน สมชาย เอี่ยมอ่อง,เกรียง ตั้งสง่าและเกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์ (บรรณาธิการ), Practical Dialysis. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น.

วิชช์ เกษมทรัพย์ และคณะ. (2554). ความต้องการงบประมาณสําหรับการเข้าถึงบริการทดแทนไตอย่างถ้วนหน้าในประเทศไทย.ประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13/ 2554.ชลบุรี.

ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ. (2557). ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ .ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 6 มค.2566 แหล่งที่มา: http://www.bangkokhealth.com/health/article

ธนิต จิรนันท์ธวัช และคณะ. (2553). การจัดการโภชนาการในไตเรื้อรัง. กรุงเทพมหานคร: .335-354.

ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ. (2555). ตำราโรคไต. กรุงเทพมหานคร: วัคคณิชยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมฤดี ธรรมสุรัติ. (2554). ปัจจัยด้านคุณภาพบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการและความภักดีต่อตราสินค้าโรงพยาบาลเอกชน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศศิวิมล งามจรัส และ นพวรรณ พจน์พิศุทธิพงศ์. (2551). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับการรักษาโรคหัวใจในประเทศไทย กรณีผู้ป่วยหนักในทวีปยุโรปและตะวันออกกลาง.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อบเชย อิ่มสบาย. (2552). อาหารชลอการเสื่อมของไต. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพมหานคร:แสงแดด.

เอื้อมพร สกุลแก้ว. (2551). 5 โรคร้ายคร่าชีวิตคนไทย อันดับ 5 โรคไต. กรุงเทพมหานคร: ใกล้หมอ.

อรุณกมล ประดิษฐบงกช และ ยุพาวรรณวรรณวาณิชย์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีต่อร้านยาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

เอนกพงศ์ โคตา และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). ปัจจัยการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่มีผลต่อการใช้บริการซํ้าโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มัลลิกา สุบงกฎ, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ จันทนา แสนสุข. (2559). กาารบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service plan สาขาไต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2559. แหล่งที่มา http://bps.ops.moph.go.th.

Aaker,D.A. (1996). Building Strong Brand. London:The Free Press. Bangkok Health Research.

Kotler, P. (2000). Marketing management. The Millennium edition.(10thed.). New Jersey:Pearson.

Kotler,P.andArmstrong,G.(2010). The Four Ps of the Marketing Mix.Principle of Marketing,Pearson (13thed.) New Jersey: Pearson.

Kotler, P.and Armstrong, G. (2009). Marketing an introduction. (9thed.). New Jersay: Pearson.

Kotler, P. and Keller,K.L. (2012). Marketing management. (14thed). New Jersey: Pearson.

Kotler, P. and Keller, K L. (2009). Marketing management. (13thed.).Upper Saddle River.New Jersey:Pearson.

Kotler,Pand Keller K.L. (2006). Marketing Management. New Jersey:Pearson.

Lovelock, C.andWirtz, J. (2007). Service Marketing: PeopleTechnology and Strategy. (6thed.), Pearson.

Oliver,R.L. (1999). “When consumer loyalty”, Journal of Marketing, 63 (special edition)

Razalli, M.,Rizal,A., S.and Yusoff, R.Z.(2012).Is halal certification process“Green”?.The AsianJournal of Technology Management. University Utara Malaysia. 5 (1), 33-41.

Rapp, S. and Collins, T. L. (1996). Maxi marketing - The new power of caring and daring. New York: McGraw Hill.