กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาระยองเขต 2

Main Article Content

ปนัดดา จันตุ่ย

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนประถมศึกษา (2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนประถมศึกษา (3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนประถมศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้คือผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 72 คน จาก 87 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การระดมความคิด และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ลำดับความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNImodified และวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคาม
         สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินความต้องการจำเป็น โดยภาพรวม มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น เท่ากับ 0.080 และ 3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนประถมศึกษา มี 7 กลยุทธ์ คือ (1) ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม (2) ผลักดันผู้บริหาร ครู และบุคลากรสู่ต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรม (3) ส่งเสริมการบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน (4) บริหารจัดการและพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง (5) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามวิถีชีวิตในชุมชนให้นักเรียนสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ (6) ขับเคลื่อนกระบวนการมีส่วนร่วม เชื่อมโยงภาคีเครือข่าย สังคม และบวร (7) ส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเค จำกัด.

กลุ่มยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนา สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ.

เจ้าอธิการบุญช่วย โชติวํโส (อุ้ยวงค์). (2563). กลยุทธ์การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 20 (2), 69

นิทรา ฉิ่นไพศาล. (2559). กลยุทธ์การบริหารการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนประถมศึกษา

ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 7 (2), 165

ประภาพร จันทรัศมี. (2559). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งทางคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนประถมศึกษา. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พระครูธรรมธราจารย์. (2560). กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมสำหรับนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. ธรรมทรรศน์. 17 (2), 62

ไพศาล มั่นอก. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็ก : กรณีศึกษาของนักเรียนโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม. สุทธิปริทัศน์. 28 (88), 105

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. เล่ม 114 ตอนที่ 55ก, 11 ตุลาคม 2540, 1-99.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. (2560). แผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ.2563. เอกสารลำดับที่ 6/2562

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2575. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดระยอง. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดระยอง (พ.ศ.2562 – 2565). เอกสารลำดับที่ 1/2560

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2553). คุณธรรม นำความรู้. กรุงเทพมหานคร: ฟรีมายด์.

Berkowitz, M.W. (2005). What works In character education: A research-driven guide for educators. University of Missouri-St. Louis.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.