รูปแบบการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนอย่างมีวิจารณญาณวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) ทดลองใช้ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนอย่างมีวิจารณญาณวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามแนวคิดการถ่ายโอนการเรียนรู้ การให้เหตุผล และทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ จังหวัดกาฬสินธุ์ ศูนย์เครือข่ายนามน ปีการศึกษา 2565 ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพ องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระยะที่ 2 การทดลองใช้ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนชุมชนบ้านหลักเหลี่ยม จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาความต้องการในการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า 1) ผู้สอนได้ให้ความสำคัญกับความรู้ ความเข้าใจ และต้องการเสริมสร้างความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มขึ้น 2) ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่าผลการประเมินคุณภาพและความเหมาะสมร่างรูปแบบการจัดการเรียนของผู้เชี่ยวชาญ โดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46
2. ผลการทดลองใช้ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองใช้ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์และการเขียนอย่างมีวิจารณญาณ เท่ากับ 23.54 (S.D. = 1.56) และ 32.57 (S.D. =1.45) ตามลำดับ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ประภัสวรรณ ตู้แก้ว (2559). การศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Hunter, Floyd. (1976). Community Power Structure. Chapel Hill: The University of North Carolina Press.
Joyce, B. & Weil, M. (2000). Models of Teaching. (6th ed.) Boston: Allyn and Bacon.Larson-
Joyce, B., & Weil, M., & Calhoun, E. (2004). Models of teaching (7 th ed.). Boston: PearsonEducation.
Joyce, Bruce Weil, Marsha and Calhoun, Emily. (2011). Model of Teaching. 8th ed. Boston:Pearson Education, Inc.
Moshman, D. (1994). Reason, reasons and reasoning: A constructivist account of humanrationality. Theory & Psychology. 4 (2), 245-260.