รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

นาตยา หกพันนา
สฤษดิ์ ศรีขาว
นิราศ จันทรจิตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ดังนี้ 1. เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารและความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2. เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยของนักเรียน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้ตามรูปแบบกับกลุ่มที่จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบปกติ โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ระยะก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติ t-test และวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และนักเรียนกลุ่มที่ ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 1.1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้พัฒนาความสามารถการสื่อสารและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ว่าการสื่อสารและความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของบุคคลคือความฉลาดทางอารมณ์กับตนเอง คนที่มีอีคิวสูง แสดงออกโดยเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดีเข้ากับผู้อื่นได้ดี รู้จักการทำงานเป็นทีมสามารถสร้างสัมพันธ์ภาพกับคนอื่นได้ รู้จักเห็นอกเห็นใจเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นเป็นอย่างดี เมื่อเกิดปัญหากับชีวิตรู้จักจัดการกับปัญหาอย่างสร้างสรรค์นั้นเอง รวมทั้งเป็นผู้ที่มีความสามารถในการปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆได้เป็นอย่างดี  1.2 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยของความสามารถในการสื่อสาร และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียนในกลุ่มทดลองมีความสามารถในการสื่อสาร และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยสูงกว่ากลุ่มควบคุม


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พรพิไล เลิศวิชา, และอัครภูมิ จุภากร. (2550). สมองวัยเริ่มเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์พินิจการพิมพ์.

รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์. (2556). การส่งเสริมทักษะภาษาสำหรับเด็ก. ในตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 3 การดูแลเด็กสุขภาพดี. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ .

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2556). การวัดและการประเมินผล: เด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Goleman, D. (1995). Emotional Intelligence: Why It can Matter More than /Q. New York: Bantam Books.

Goleman, D. (1998). Working with emotional Intelligence. New York: Bantam Book.

Joyce, B. R., and Weil, M. (2000). Models of Teaching and Learning; Where Do They Come Form and How Are They Used? ใu Models of Teaching (6th ed.), Allyn and Bacon.