การถอดบทเรียนการบริหารงานที่เป็นเลิศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษา โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุพื้นที่เทศบาล ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อมาพร ปวงรังษี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุพื้นที่เทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบแผนที่กลยุทธ์ (Strategic map) และ เพื่อถอดบทเรียนยุทธศาสตร์การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ พื้นที่เทศบาลตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้กรอบแผนที่กลยุทธ์ (Strategic map) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธี (Mixed method research) ผู้วิจัยใช้การสุ่มอย่างเป็นระบบ (Systematic random sampling) ในการสุ่มตัวอย่างสำหรับการประเมินโครงการ (เชิงปริมาณ) ประกอบด้วยผู้สูงอายุจำนวน 142 คน และ ครอบครัว/ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 137 คน รวม 279 และใช้การการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive selection) ในการเลือกผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม (เชิงคุณภาพ) จำนวน 8 คน เครื่องมือสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณคือแบบประเมินตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (ชุดย่อ) ฉบับภาษาไทย แบบประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการดำเนินงานโครงการ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแล/ครอบครัวต่อการดำเนินงานโครงการ และ แบบประเมินตัวชี้วัดโครงการพัฒนาระบบผู้สูงอายุ เครื่องมือสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพคือ ประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS และ Excel การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพดำเนินการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ภายใต้กรอบแนวคิดแผนที่กลยุทธ์   ผลการศึกษาพบว่า  การประเมินโครงการในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 3.750 ระดับดีมาก แผนที่กลยุทธ์การดำเนินการโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุพื้นที่เทศบาลตำบลเชิงดอยประกอบด้วย 4 มิติคือ 1) ด้านประสิทธิภาพตามนโยบาย (ผลลัพธ์) 2)  ด้านคุณภาพการให้บริการ (ผลผลิต) 3) ด้านประสิทธิภาพการให้บริการ (กระบวนการ) และ 4) ด้านการพัฒนาองค์กร (ความยั่งยืน)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2550. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.dop.go.th/th/know/side/1/2/63

ณัฐวรรณ แย้มละมัย และสุณี หงส์วิเศษ. (2561). การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 8 (3), 17-25.

ดวงแข รักไทย และนิตยา ชีพประสพ (2565) การประเมินผลโครงการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลนาท่ามใต้

อำเภอเมือง จังหวัดตรัง.วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8 (5), 125-138.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ และคณะ. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชาติพันธุ์ จังหวัดเชียงราย วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 36 (4), 74-82.

เทศบาลตำบลเชิงดอย.(2559).รายงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยเอา

พื้นที่เป็นตัวตั้ง รุ่นที่ 1และ 2. เชียงใหม่ :เทศบาลตำบลเชิงดอย

ประภัสสร ไตรลาภวิฒิ, บุษกร วัฒนบุตร และนันทนา ชวศิริกุลฑล (2563) แนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4 (3), 176-183.

พนัส จันทร์ศรีทองใบ (2555). แผนที่ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคณะในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพชรธยา แป้นวงษา, ไพฑูรย์ สอนทน และกมล อยู่สุข (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบทจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 15 (2), 41-56.

วรางคณา ศรีภูวงษ์ ชาญยุทธ ศรีภูวงษ์ และสุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์ (2563) การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 6 (2), 13-28.

วิไลวรรณ โพนศิริ อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า พาชิตชนัต ศิริพานิช (2560) ทุนองค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม

เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเชิงเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมไทย. สุทธิปริทัศน์. 31 (100), 220-233.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2550).การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย 2543-2573. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

เสมอ จัดพล (2556) การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบล

อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์. 6 (3), 510-519.

สุรพงษ์ คงสัตย์ และธีรชาติ ธรรมวงค์.(2551). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329

Kaplan, R.S., & Norton, D.P. (2004). The strategy map: guide to aligning intangible assets. Strategy & Leadership, 32(5), 10-17. https://doi.org/10.1108/10878570410699825

Lance, C. E., Butts, M. M., & Michels, L. C. (2006). The sources of four commonly reported cutoff criteria: What did they really say? Organizational Research Methods, 9 (2), 202.-220. http://doi.org/ 10.1177/1094428105284919

Yamane, T. (1967). Statistics, an introductory analysis. (2nd Ed.) New York : Harper and Row.