การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันปอดอักเสบ จากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

Main Article Content

กัญญา เลี่ยนเครือ
สุภาภรณ์ ประยูรมหิศร
ศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยบำบัดวิกฤต โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความรู้ แบบประเมินการปฏิบัติการนิเทศทางการพยาบาลและแบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศทางคลินิก ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีการหาสัมประสิทธิแอลฟาครอนบาค วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้สถิติพรรณนาได้แก่การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดลอบที
          ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการนิเทศประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ มีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการนิเทศทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจหลังใช้รูปแบบในระดับมากและมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในระดับมากกลุ่มผู้รับการนิเทศมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจระดับมากและหลังการใช้รูปแบบพบว่าผลลัพธ์การเกิดอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลง


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alexander, G. (2010). Behavioral coachingThe GROW model. Excellence in coaching: The industry guide. (2nd ed.). Philadelphia, PA: Kogan Page.

Allegranzi, B., Nejad, S. B., Combescure, C., Graafmans, W., Attar, H., Donaldson, L., & Pittet, D. (2011). Burden of endemic health-care-associated infection in developing countries: systematic review and meta-analysis. Lancet, 377 (9761), 228-241. doi: 10.1016/S0140-6736(10)61458-4

Chumpinij, N., & Moolsart, S. (2015). The Development of a Clinical Supervision Model for Head Nurses at Bhumibol Adulyadej Hospital. Journal of The Police Nurse, 7 (2), 77-89.

Davis, C., & Burke, L. (2012). The effectiveness of clinical supervision for a group of ward managers based in a district general hospital: an evaluative study. Journal of Nursing Management, 20 (6), 782-793. doi: 10.1111/j.1365-2834.2011.01277.x

Group of Nurses for preventing Hospital acquared Infection in Phaholpolpayuhasaena Hospital. (2021). Report of infectious monitoring in Hospital acquared Infection in Phaholpolpayuhasaena Hospital. Kanchanaburi: Phaholpolphayuhasena Hopsital.

Intasuwan, A., Chantra, R., & Sonthikasettrin, A. (2016). Effectiveness of Nursing Clinical Supervision Model by Nursing Department Ranong Hospital. Journal of Nursing Division, 43 (3), 25-43.

Korbkitjaroen, M., Vaithayapichet, S., Kachintorn, K., Jintanothaitavorn, D., Wiruchkul, N., & Thamlikitkul, V. (2011). Effectiveness of comprehensive implementation of individualized bundling infection control measures for prevention of health care–associated infections in general medical wards. AJIC: American Journal of Infection Control, 39 (6), 471-476. doi: 10.1016/j.ajic.2010.09.017

Proctor, B. (2001). Training for the supervision alliance attitude, skills and intention. In J. R. B. Cutcliffe, T. & B. Proctor (Eds.), Fundamental Themes in Clinical Supervision. London:: Routledge.

Rosenthal, V. D., Bijie, H., Maki, D. G., Mehta, Y., Apisarnthanarak, A., Medeiros, E. A., . . . Jayatilleke, K. (2012). International Nosocomial Infection Control Consortium (INICC) report, data summary of 36 countries, for 2004-2009. AJIC: American Journal of Infection Control, 40 (5), 396-407. doi: 10.1016/j.ajic.2011.05.020

Ruammek, L. (Producer). (2020). Clinical Supervision under nursing standards. General Meeting 2020 of Thailand Nursing Association.

Supunpayob, P., Sukadisai, P., & Amphon, K. (2013). Developing a Nursing Supervision Model of the Nursing Division in Phrapokklao Hospital. Journal of Nursing and Education, 6 (1), 12-26.

The Committee of Infectious prevention and Control in Ramathibodi Hospital. (2017). Annoucement of the Committee of Infectious prevention and Control in Ramathibodi Hospital Bangkok: Faculty o f Medicines, Ramathibodi Hospital

The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). (2018). Hospital and Healthcare Standards. (4th Edition ed.). Bangkok: Nungsue Deewan,.

Unahalekhaka, A. (2002). Knowledge of Hospital Acquired Infectious Prevention. (4 ed.). Chiangmai: Mingmuang.