การจัดการความเสี่ยงภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเผชิญสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข หน่วยงานของรัฐมีการกำหนดมาตรการเร่งด่วนในการควบคุมและจำกัดพื้นที่การให้บริการ ขณะที่โรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์คือที่พึ่งพิงและเป็นความคาดหวังของประชาชน จึงพบข้อจำกัดในการควบคุมบริบทบางส่วน นำมาซึ่งความเสี่ยงในการบริหารจัดการ การวิจัยครั้งนี้จึงได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการจัดการความเสี่ยง และเปรียบเทียบการจัดการความเสี่ยงภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาล จำนวน 200 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิ จำนวน 11 กลุ่มงาน จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการวิเคราะห์เชิงอนุมาน ด้วยการวิเคราะห์ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยผลการวิจัยพบว่า
โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ สามารถจัดการความเสี่ยงโดยภาพรวมได้ในระดับมาก ซึ่งสามารถจัดการความเสี่ยงได้มากที่สุด ในด้านการกำหนดกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ รองลงมาคือ ด้านสารสนเทศ การสื่อสาร และการรายงาน ด้านการทบทวนและปรับปรุงแก้ไข ด้านเป้าหมายผลการดำเนินงาน และด้านการกำกับดูแลกิจการและวัฒนธรรมองค์การ ตามลำดับ และเมื่อทำการเปรียบเทียบพบว่า เป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ โดยบุคลากรที่มีกลุ่มงานที่ปฏิบัติต่างกันมีความเห็นแตกต่างกันในด้านสารสนเทศ การสื่อสาร และการรายงาน และบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความเห็นแตกต่างกันในด้านการกำหนดกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และบุคลากรที่มีประสบการณ์ฝึกอบรมการจัดการความเสี่ยงต่างกัน มีความเห็นแตกต่างกันในด้านการทบทวนและปรับปรุงแก้ไข อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12. นนทุบรี : กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการดำเนินงานชุมชนสร้างสุขโดยกลไกตำบลจัดการคุณภาพชีวิตตำบลวิถีชีวิตใหม่ ปลอดภัยโควิด 19 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นนทุบรี : กระทรวงสาธารณสุข.
กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานสถานการณ์ โควิด 19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.
เกศภัทร วิสุทธิ์ และคณะ. (2564). การบริหารจัดการความเสี่ยงและแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์. 12 (2), 196-205.
กิติพงษ์ จันทรพล และคณะ. (2563). ความเสี่ยงของบุคลากรและการจัดการความเสี่ยงของบุคลากรโดยหัวหน้างานตามการรับรู้ของพยาบาลประจำกลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลทั่วไปภาคใต้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 7 (1), 240 – 253.
จิราวรรณ รุ่งเรืองวารินทร์ และคณะ. (2560). การพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยง กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 7 (1), 25-36.
ณรงค ใจเที่ยง และวิกรม บุญนุน. (2565). สถานการณระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตอการบริหารจัดการและพัฒนาชุมชนทองถิ่น. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8 (4), 393-408.
ภัทร์ธิตา โภคาพันธ์ และคณะ. (2563). การพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการความเสี่ยงด้านคลินิกตามมาตรฐานงานบริการผู้ป่วยในของพยาบาล โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลทหารบก. 13 (2), 38 - 48.
สุจิตราภรณ์ ทับครอง. (2565). กระบวนทัศน์ใหม่ของการจัดการเรียนรู้ภาคปฏิบัติที่ส่งเสริมสมรรถนะปฏิบัติการทางการพยาบาลของนักศึกษาในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารพยาบาลศาสตร์. 23 (44), 77 - 91.
Enterprise Risk Management: Integrating with Strategy and Performance. (2017). The Evaluation of Enterprise Risk Management in Accordance with COSO ERM 2017. Retrieved from: https://www. coso.org/Documents/COSO-ERM-Presentation-September-2017.pdf.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications.
Wilson, J and Tingle, J. (1999). Clinical Risk Modification. Oxford: Butterworth-Heinemann.