รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

จารุชา สมศรี

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู โรงเรียนคลองห้า (พฤกษชัฏราษฎร์บำรุง) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 4) 21 เพื่อประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครู โรงเรียนคลองห้า (พฤกษชัฏราษฎร์บำรุง) จำนวน 22 คน ผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบรูปแบบจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. สภาพปัจจุบันสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
          2. รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มี 4 องค์ประกอบได้แก่ หลักการแนวคิดในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ คุณลักษณะของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและ แนวทางการนำรูปแบบไปใช้
          3. ผลที่เกิดจากรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่าครู นักเรียนและผู้ปกครองมีพบว่าความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผลการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 88.20
          4. ผลการประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศรา อมรวุฒิวร. (2560). ครูยุคใหม่กับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 28 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.posttoday.com/life/healthy/568986

ผดุงชัย ภู่พัฒน์ และคณะ. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินเดีสุข. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนากรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นริศ ภูอาราม. (2560). การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับเครือข่ายโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ ปรด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรืองและอรพิน ศิริสัมพันธ์.(2561). ชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครูกลยุทธ์การยกระดับคุณภาพการศึกษา : แนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: เอ็มแอนด์เอ็นดีไซด์ ปรินซ์ติ้ง

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2562). ความเป็นครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: หจก.มีน เซอร์วิสซัพพลาย.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). บันเทิงชีวิตครูสู่ชุมชนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วีระชัย ศรีวงษ์รัตน์. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ กศม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2562). ศาสตร์และศิลป์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สิิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. (2560). ชุดวิชา 23728 หน่วยที่ 6 ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อการพัฒนา การศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สุรัญญา ก้องวัฒนโกศล (2563). การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครูสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). ระบบรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 1. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อำนาท เหลือน้อย. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ ค.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.