การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร

Main Article Content

นฤมล มิ่งขวัญ
วาโร เพ็งสวัสดิ์
บุญมี ก่อบุญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ3) พัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร การดำเนินการมี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน ระยะที่ 3 การพัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 313 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60 – 1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง   0.60 - 0.96 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยวิธีสัมประสิทธิ์ แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป 
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย 48 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น องค์ประกอบหลักภาวะผู้นำ จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักการบริหารจัดการ จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบหลักการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 12 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบหลักการทำงานเป็นทีม จำนวน 12 ตัวบ่งชี้
          2. โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ Chi - square = 26.78 df = 28    P = 0.53 GFI = 0.98 AGFI = 0.96 RMSEA = 0.00 CN = 563.73 และค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 48 ตัวบ่งชี้ มีค่าตั้งแต่ 0.50 – 0.81
          3. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จีระ งอกศิลป์. 2557. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน.กรุงเทพมหา นคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรลุ ชินน้ำพอง. 2556. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 7 (1), 92-103.

ปฐมสุข สีลาดเลา. (2552). การศึกษาพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 1-7. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ประยูร เจริญสุข. (2553). พัฒนาตัวบ่งชี้งานวิชาการสาหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559 ). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2557). สมรรถนะสำคัญของผู้บริหารมืออาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 6 (12), 165-184.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. (2561). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือและชุดฝึกอบรมการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาแนวใหม่ ตามแนวสปฏิบัติการศึกษาในทศวรรษที่ 2: การอบรมแบบผสมผสาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

หนูกัณฑ์ ปาโส. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. (9) 3, 64.

อุทัย ภักดีประยูรวงศ์. (2556). “สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20”. ปริญญานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุไร สุขจัย. 2555. สมรรถนะ. กรุงเทพมหานคร: สยามการพิมพ์.

Burstein, L., Oakes. J., & Guiton, G. (1992). Education indicators. In M.C. Alkin (Ed.), Encyclopedia of Educational resrarch. New York: Mac Millan. Resnick Nolan and Resnick (1995)

Comrey, & H.B. Lee. (1992). A first course in factor analysis. Hillsdale: Lawrence Erlbaum ssociates.

Johnstone, J. M. (1981). Indicators of Education System. London: The Ancho Press.

Nardo, M., Saisana, M., Saltelli, A., and Tarantola, S. (2005). Tools for Composite Indicators Building. Joint Research Centre, European Commission.