การพัฒนาบุคลากรในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ภูธดา คุณผลิน
นุชธิดา โยลัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนาบุคลากรในการปฏิบัติงาน  2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาบุคลากรในการปฏิบัติงาน และ3) เสนอแนวทางการพัฒนาบุคลากรในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย คือบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานกรมส่งเสริมท้องถิ่น 344 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติการวิเคราะห์ถดถอยแบบขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีอุปมานวิเคราะห์และการตีความ
          ผลการวิจัย พบว่า                
          1) สภาพปัจจุบันการพัฒนาบุคลากร ทั้ง 6 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง พิจารณารายข้อพบว่า การพัฒนาด้านการบริหารการเงินการคลัง ค่าเฉลี่ยมากที่สุด และความสามารถในการบริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
           2) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาบุคลากร ทั้ง 6 ปัจจัย พบว่า 1) มีค่าสัมพันธ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมีค่าอยู่ระหว่าง .002 ถึง .608 โดยทั้งหมดมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) มีความแปรปรวนจากปัจจัย จำนวน 18 หน่วยงาน ทั้ง 6 ปัจจัย โดยพบว่า มีทั้ง 6 ตัวแปรที่มีปัจจัยโดยตรงต่อความคิดเห็นของบุคลากร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ (R2 Square) เท่ากับ 0.769 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ที่ปรับแล้ว (Adjusted R2) เท่ากับ 0.767 ทั้ง 6 ตัวแปรสามารถทำนายความคิดเห็นของบุคลากร ร้อยละ 76.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05              
          3) แนวทางการปรับปรุงปัจจัย มี 6 หลัก ประกอบด้วย 1) ควรมีการสนับสนุนบุคลากรในงานการเงิน การคลังและพัสดุ เข้ารับการอบรม 2) ควรส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนเกิดความเข้มแข็งแบบยั่งยืน 3) ควรจัดฝึกอบรมศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาท้องถิ่น 4) ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น 5) ควรมีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ จากการวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสม และ 6) ควรจัดแบ่งหน้าที่การงานและมอบอำนาจให้ตามความสามารถ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น. (2561). หน่วยงานภาครัฐ. อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.

ทรงศักดิ์ ทิอ่อน. (2550). ปัญหาและความต้องการด้านการพัฒนาบุคลากรขององค์กรบริหารส่วน จังหวัดอุตรดิตถ์. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ปริศนา พิมพา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

บุญเตือน เกษศรี. (2553). แนวทางการพัฒนาบุคลากรในองค์กรบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พงศธร ผาสิงห์. (2552). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลของเทศบาลใน จังหวัดอุตรดิตถ์.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ

พิชิต พิทักษ์สมบัติ. (2548). การสำรวจโดยการสุ่มตัวอย่าง: ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์

เสนธรรม.

ศุภามาศ แก้วดวงดี. (2553). แนวทางการพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองเขียด อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุรศักดิ์ เอี่ยมศรี. (2553). แนวทางการพัฒนาบุคลากรของเทศบาลตำบลฆ้อง อำเภอพรหมพิรามจังหวัดพิษณุโลก. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยการปกครอง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อภิชาต แสงอัมพร และจำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2556). รูปแบบการบริหารการคลังเทศบาลที่ส่งผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานการคลังท้องถิ่น ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารวิชาการ ฉบับสังคมและมนุษยศาสตร์. มหาวิทยาลัยอีสเทริน์เอเชีย. 3 (2), 132-150.

Best, J.W. (1977). Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Yamane,T. (1967). Statistics:An introductory analysis. New York; Harper and Row.