ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลสังกัดกองร้อยกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

พิเชษฐ์ เชื้อมั่น
โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลสังกัดกองร้อยกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสถานภาพส่วนบุคคลกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลสังกัดกองร้อยกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล สังกัดกองร้อยกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ จากการแจกแบบสอบถาม กับกำลังพล จำนวน 379 นาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test และ F-test และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า   1. ระดับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลสังกัดกองร้อยกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 พบว่า ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานโดยร่วมอยู่ในระดับมาก 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสถานภาพส่วนบุคคลกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลสังกัดกองร้อยกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 พบว่า กำลังพลสังกัดกองร้อยกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 ที่มีสถานภาพ จำนวนปีที่ทำงาน รายได้ ระดับชั้นยศ  และหน่วยงานย่อยที่สังกัดที่แตกต่างกัน มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพล สังกัดกองร้อยกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 พบว่า ผู้บังคับบัญชาควรหาสาเหตุของปัญหาและกำลังพลที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น แล้วคิดหาวิธีแก้ไขอย่างเป็นกลาง และเลือกใช้วิธีแก้ปัญหาที่จะส่งผลดีต่อทั้งกำลังพล และหน่วยงาน จะต้องบริหารงานด้วยความโปร่งใส ใช่วิธีการบริหารองค์กร แบบมีส่วนร่วม วางแผนจัดกำลังพลให้ตรงกับภารกิจงาน การสอบเลื่อนตำแหน่งแต่ละครั้ง ควรจะมีการรวบรวมตำแหน่งเข้าสู่บัญชีส่วนกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมยุทธศึกษาทหารบก. (2563). แนวทางหนึ่งในการปฏิบัติงานด้านกิจการพลเรือน. กรุงเทพมหานคร: กรมยุทธศึกษาทหารบก.

จันทร์พิมร์ บัวทอง. (2561). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมการปกครองจังหวัดพัทลุง. วารสารนวัตกรรมบริหารและการจัดการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. 18 (2), 54-63.

ชฎิล อินทร์รักษ์. (2562). ขวัญกำลังใจการทำงานของบุคลากรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปกร. 10 (2), 375-388.

ธิติยา กิด่วน, ภิรดา ชัยรัตน์ และอรนันท์ กลันทปุระ . (2565). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานพาณิชย์จังหวัด. วารสารวิชาการและการวิจัยสังคมศาสตร์. 17 (1), 105-116.

น้องนุช นิลแก้ว. (2562). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินเขตเพชรบุรี. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 7 (2), 35-46.

เบญจมาภรณ์ สอนวัฒนา. (2562). ภาวะผู้นำที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วารสารบัญฑิตศึกษา. 16 (74), 154-167.

ปรีดี กิตติวัฒนากูล. (2560). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สังกัด กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครสวรรค์. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐแนวใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

มนัสวิน ศิริเวช. (2563). การพัฒนาบุคลากรของเจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษธนบุรี ศึกษากรณี การเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ. 8 (1), 91-106.

วัชระ ยี่สุ่นเทศ, ทศพร มะหะหมัด และจอมขวัญ ถิ่นใหญ่. (2562). แรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสังคมเครือข่ายประชาชื่น. 1 (3), 1-12.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์, ประสพชัย พสุนนท์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (3), 2507-2527.