การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติโดยใช้งานทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาสมรรถนะคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เรื่อง เงินและบันทึกรายรับรายจ่าย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เรื่อง เงินและบันทึกรายรับรายจ่าย ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติโดยใช้งานทางคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายของงานวิจัยเป็นนักเรียนของโรงเรียนบ้านธารทิพย์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 20 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในปีการศึกษา 2564 โดยใช้ แบบสังเกต ใบกิจกรรม และแบบประเมิน ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีพัฒนาการสมรรถนะคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันดีขึ้นครบทั้ง 5 ด้านหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เน้นการปฏิบัติโดยใช้งานทางคณิตศาสตร์ โดยแต่ละด้านนักเรียนมีพัฒนาการ เรียงจากมากไปน้อยดังนี้ 1) ใช้ศัพท์สัญลักษณ์แผนภูมิแผนภาพอย่างง่าย ๆ เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจในความคิดของตนเองได้อย่างหลากหลายและเหมาะสมกับวัยเนื้อหาและสถานการณ์ 2) ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เรียนหาข้อสรุปที่อธิบายความคิดของตนอย่างสมเหตุสมผลตามวัย 3) อธิบายความรู้และหลักการทางคณิตศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับปัญหาหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ตนเองพบในชีวิตจริงได้อย่างมีเหตุผลตามวัย 4) แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันที่เหมาะสมกับวัยโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และคำนึงถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้ 5) คิดในใจในการบวกลบคูณหารเงินได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวแม่นยำเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันตามลำดับ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กษมา เกิดประสงค์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 10 (3), 2121-2137
นภัสสร แก้วมีชัย และสิรินภา กิจเกื้อกูล (2563). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติโดยใช้งานทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและจำนวนคละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 36 (1), 180-190.
นิราวรรณ หมู่ธรรมไชย และ ณัชชา กมล. (2560). การส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์โดยใช้งานทางคณิตศาสตร์: การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22 (2), 135-146.
วรรณิสา เมืองโคตร และณัชชา กมล. (2560). การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้งานทางคณิตศาสตร์. รายงานการประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 22. 2-4 มิถุนายน 2560. โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว
ศอภิญญา ทัศละมัย, อังกูร หวังวงศ์ชัย และ วิราวรรณ ชินวิริยสิทธิ์. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธีการเสริมต่อการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. รายงานการประชุมวิชาการทางคณิตศาสตร์ ครั้งที่ 22. 2-4 มิถุนายน 2560. โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ระดับประถมศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา https://www.scimath.org/ebook-mathematics/item/8378-2560-2551
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และที่เน้นการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่ายๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา. นนทบุรี : 21 เซ็นจูรี่ กำจัด
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). คู่มือการนำกรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่4 - 6 ไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2564). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน(NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: http://180.180.244.48/ NT/ExamWeb/FrLogin.aspx
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21 .เพชรบูรณ์: จุลดสิการพิมพ์.
อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cai, J. & Lester, F,K. (2010). Why is teaching with problem solving important to student learning.Reston, VA: National Council of Teaching of Mathematics
Henningsen, M. & Stein, M. K. (1997). Mathematical Tasks and Student Cognition: Classroom-Based Factors That Support and Inhibit High-Level Mathematical Thinking and Reasoning. Joumal for Research in Mathematics Education. 28 (5), 524-549.
Mumme, J., & Shepherd, N. (1993). Communication in mathematics. In Implementing the K-8 curriculum and evaluation standard. Virginia: NCTM.
Santoro, A. M. (2004). The Academic Value of Hands – on Craft Project in School. New York: n.p.
Stein, M. K. , Smith, M. S. , Henningsen, M. and Silver, E. A. (2000). Implementing standards based mathematics instruction: A casebook for professional development. New York: Teachers College Press.
The National Council of Teachers of Mathematics. (2014). Implement Tasks That Promote Reasoning and Problem Solving, Principles to Actions: Ensuring Mathematical Success for All Produced. VA: NCTM.