แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานจัดทำวารสารวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของ มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Main Article Content

อามีนะห์ ใจหาญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการดำเนินงานจัดทำวารสารวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 2) เพื่อสังเคราะห์แนวทางพัฒนาการดำเนินงานจัดทำวารสารวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยใช้สูตรคำนวณกลุ่มตัวอย่าง Taro Yamane ที่มีความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 296 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและตัวแทนจากกองบรรณาธิการของวารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ และวารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) จำนวน 10 ท่าน เลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก มีค่า IOC เท่ากับ 0.60 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการดำเนินงานจัดทำวารสารวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ อยู่ในระดับมาก 2) แนวทางพัฒนาการดำเนินงานจัดทำวารสารวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยพิจารณา
แต่ละด้าน พบว่า (1) การให้บริการวารสารควรมีระบบออนไลน์ในการส่งบทความเพื่อพิจารณาการตีพิมพ์
ซึ่งสามารถเปิดค้นคว้าจากหน้าเว็บไซต์ของวารสารและศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง อาทิเช่น สมัครเป็นสมาชิก ส่งบทความและตรวจสอบสถานะบทความได้ด้วยตัวเอง รวมถึงการมีเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือสำหรับผู้ส่งบทความที่มีข้อสงสัย พร้อมมีคู่มือการส่งวารสารผ่านระบบออนไลน์ให้เป็นแนวทางการปฏิบัติ (2) การจัดเตรียมต้นฉบับควรมีการตรวจทานระบบประเมินคุณภาพของต้นฉบับบทความอย่างละเอียดครบถ้วน ควรมีการอ้างอิงตามศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai – Journal Citation index Centre : TCI) รวมถึงเกณฑ์การประเมินคุณภาพเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI อย่างเคร่งครัด และ (3) การเผยแพร่วารสารเป็นการนำบทความสู่การตีพิมพ์ ควรตรงต่อเวลาที่กำหนดไว้ และการจัดทำวารสารต้องมีระบบการจัดการวารสารแบบออนไลน์ที่สามารถสืบค้นย้อนหลังได้สะดวกและรวดเร็ว และควรมีการดูแลเว็บไซต์ให้เป็นเพื่อเป็นการตรวจสอบสถานะบทความและอัพเดทข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวินทร์ พิมจันนา. (2562). การจัดการและปัญหาการจัดทำวารสารวิชาการ: กรณีศึกษาวารสารการเมืองการปกครอง. วารสารการเมืองการปกครอง. 9 (1), 1-24

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2565 . แหล่งที่มา : https://www.rmutsb. ac.th/2016/home)

เดชดนัย จุ้ยชุม และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารระดับนานาชาติของอาจารย์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์และสังคมศาสตร์. 6 (2), 1-13.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). รูปแบบและลักษณะของบทความวิจัยที่พิมพ์ในวารสารตามมาตรฐานสากล. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 4 (1), 7-16

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

พรชนก ทองลาด. (2561). การเขียนบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ผลงานทำได้อย่างไร. วารสารปัญญาภิวัฒน์.

(ฉบับพิเศษ), 279-291.

วุฒิพงศ์ หว่างดี. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการบริหารจัดการงานวารสารวิชาการในประเทศไทย. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานนครินทร์.

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ฮาซันพริ้นติ้ง

สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา CUPT QA. กรุงเทพมหานคร: สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย

สุมาลี นาคถนอมทรัพย์, วัลยา พุ่มต้นวงค์ และพัดชา สนองค์. (2557). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดทำวารสารแพทย์เขต 4-5 สู่การเป็นวารสารระดับชาติ. การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Miller, L.T., Smith, A., & Labach, E. (2010).Guidelines And Advice For Successful Publication Provided By Journal Editors. American Journal of Business Education 3 (3), (17-34). USA.

Newton, D. P. (2010). Quality and Peer Review of Research: An Adjudicating Role for Editors, Accountability in Research, 17 (3), 130-145. UK.