การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพช่างอุตสาหกรรม ของนักเรียนประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 3 โดยการใช้การจัดการเรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E)

Main Article Content

นพณัฐ นาบุตรบุญ
แสงเดือน คงนาวัง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) จำนวน 6 แผน 2. เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เป็นแบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 มีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยเท่ากับ 15.00 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด
           2. นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 23.73 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.11 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรองกาญจน์ วิลัยศร. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง อาหารและการดำรงชีวิต ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Veridian E-Journal,Silpakorn University. 9 (2), 407-423.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. “สำนักงานแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบ พ.ศ. 2550-2559”.

รุจาภา ประถมวงษ์. (2551). ศึกษาการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว.

วัชราพร ฟองจันทร์. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฎจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก วิชาชีววิทยา เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8 (2), 301-314.

Eisenkraft, A. (2003). September. “Expanding the 5E model. The Science Teacher.