การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครพนม

Main Article Content

เริงณรงค์ ดวงดีแก้ว
วาโร เพ็งสวัสดิ์
อภิสิทธิ์ สมศรีสุข

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมขนาดเล็ก 2) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 3) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 4) นำเสนอแนวทางพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 46 คน ครูจำนวน 206 คน รวม 252 คน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของ Krejcie and Morgan การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยด้านสภาพที่เป็นจริงมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.60 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.39 - 0.89 และค่าความเชื่อมั่น 0.98 ส่วนด้านสภาพที่ควรจะเป็นมีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.60 - 1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.72 -0.92 ค่าความเชื่อมั่น 0.99 และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified)
          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
          1. องค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความสามารถในการร่วมมือกับผู้อื่น 2) ทักษะการเชื่อมโยง 3) ทักษะการคิดแบบผสมผสาน 4) ทักษะการเล่นอย่างมีคุณค่า 5) การให้ความสนใจในมุมมองใหม่ 6) การคิดเป็นภาพ
          2. พบว่า สภาพที่ควรจะเป็นของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่เป็นจริงโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
          3. พบว่า มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงเป็นลำดับแรก รองลงมาคือ ด้านทักษะการเล่นอย่างมีคุณค่าและทักษะการคิดผสมผสาน
          4. ได้แนวทางในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กตามองค์ประกอบตามลำดับ ดังนี้ 1) ทักษะการเชื่อมโยง 2) ทักษะการเล่นอย่างมีคุณค่า 3) ทักษะการคิดผสมผสาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู. ดุษฎีนิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). คิดนอกกรอบ : สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2555). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสำหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษ ที่ 21. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14 (2), 117-128.

อรชร ปราจันทร์. (2560). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ กศ.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อมรรัตน์ ศรีพอ. (2561). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะ ความริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม. ดุษฎีนิพนธ์ ค.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Amelink.(2013).Education Affordance That Support Development of innovative ThinkingSkillin large classes Deans office,college of engineering.

Horth, D., & Buchner, D. (2014). Innovation leadership: How to use innovation to lead effectively, work collaboratively and drive results: Centre for creative leadership. Retrieved. from http://www.ccl.org/leadership/pdf/research/Innovation Leadership. pdf

Hoidn,B.J. & karkkaunen, k. (2014). Promoting skill for innovation in higher education: A literature review on the effectiveness of problem-base learning and of teaching behaviors. N.P.: OECD Education Working Pap

Lee, S. (2018). Innovation, Entrepreneurship & Sustainability Summer Program. Taipei : National Taiwan University

Swallow, E. (2012). Can innovative thinking be learned. Forbes. 6 (3), 1 – 2.

Universal class. (1999-2019). Developing innovative thinking skills. Retrieved from https:// www.universalclass.com/articles/business/developing-innovative-thinkingskills.htm