บทบาทการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู กลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

ณัฐฐินันท์ โยมงาม
อุไร สุทธิแย้ม

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู ปีการศึกษา 2564 ใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่ายและเทียบสัดส่วนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของโคเฮน ได้จำนวน 241 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องได้เท่ากับ .967 สถิติที่ใช้ คือ การหาค่าความถี่   ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านคุณภาพของการปฏิบัติงาน ด้านเป้าประสงค์และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสถานศึกษา ด้านการดูแลเอาใจใส่ และความหลากหลายของบุคลากร และสุดท้าย ด้านการยอมรับ การมอบอำนาจและการตัดสินใจ 2) ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ของครูที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการรับรู้บทบาทการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) ผลการเปรียบเทียบครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีการรับรู้บทบาทการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กณิษฐา ทองสมุทร. (2561). ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรูของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎรธานี เขต 2. การศึกษาคนควาอิสระหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ราชภัฎสุราษฎรธานี.

กานต์นรี ประสพสุข. (2563). วัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนวัดบางพระ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยอานนท์ ภูมิลำเนา. (2560). การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ดรุณี รัตนสุนทร. (2560). วัฒนธรรมองค์กรของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยเชียงราย.

ธนู ทดแทนคุณ. (2560). การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ด้วย LARUS’s Mode. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. คณะวัฒนธรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปฐมาภรณ์ ฤทธิ์กันโต. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียนชลราษฎรอำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภัคพร เจริญลักษณ์. (2561). วัฒนธรรมองค์การกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริพงษ์ เศาภายน. (2551). หลักการบริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ=Education Administration : Theory and Practices. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.

สุนิสา ศรีอัสดร. (2561). การศึกษาวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุมาลี ธารทองขจรไกร. (2560). การศึกษาความคิดเห็นของครูต่อวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนปทุมวิไล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตศึกษา. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สนธยา เกรียงไกร ณ พัทลุง. (2557). วัฒนธรรมองค์กรในทัศนะของพนักงานบริษัทในตำบลนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.