ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์

Main Article Content

กัญญาภัค จูฑพลกุล
ทัศนะ ศรีปัตตา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ และ (2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ โดยจำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ จำนวนทั้งหมด 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent Samples) และ F-test (One-way ANOVA)
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านการรู้ดิจิทัล อยู่ในระดับมากและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสื่อสารดิจิทัล อยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์  โดยจำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและขนาดของสถานศึกษา พบว่า ภาพรวมไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จันทรา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

ทินกร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร. 13 (2), 285-294.

ปาณัสม์ ชุมภูยาละ. (2563). แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนัก-งานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 10 (1), 137-143.

พรทิพย์ พลประเสริฐ และรัชฏ สุวรรณกุฏ. (2559). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยนครพนม, 1258-1264

ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7 (2), 151-166.

ภานุมาศ จันทร์ศรี. (2562). โมเดลการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา: การวิจัยแบบผสมผสานวิธี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 2 (10), 2843-2854.

สุวิมล ทองจำรัส และสจีวรรณ ทรรพวสุ (2563). ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 10 (3), 168-178.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. ออนไลน์. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2562. แหล่งที่มา: http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-t2s1-t2-t2s3.

Sullivan, L. (2017). 8 Skills Every Digital Leader Needs. Online. Retrieves May 25, 2019, form https://www.cmswire.com/digital-workplace/8-skills-every-digital-leader-needs/.