การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านเส้นทางการเดินทัพของพระนางจามเทวีวงศ์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนฐานชุมชน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ธนพร ดีประเสริฐ
ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่องพระนางจามเทวีวงศ์2.เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านเส้นทางเดินทัพของพระนางจามเทวีวงศ์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนฐานชุมชน งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 31 คน สภาพปัจจุบันของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเรื่องพระนางจามเทวีวงศ์ในอำเภอสามเงาจังหวัดตาก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านเส้นทางเดินทัพของพระนางจามเทวีวงศ์โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนฐานชุมชน ประกอบไปด้วยปราชญ์ชาวบ้าน,นักเรียน,ผู้อำนวยการโรงเรียน,ผู้มีประสบการณ์ทางด้านการจัดการเรียนการสอน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนชุมชนชลประทานรังสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1.แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม 2.แนวคำถามในการสัมภาษณ์เชิงลึก การเก็บรวบรวมข้อมูล 1.การศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับงานวิจัย 2.วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม 3.วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์สรุปอุปนัย โดยการวิเคราะห์สรุปข้อมูลจากนวัตกรรมของนักเรียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เส้นทางการเดินทัพของพระนางจามเทวีวงศ์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแบบพรรณนา วิธีการตรวจสอบคุณภาพความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยอาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เส้นทางการเดินทัพของพระนางจามเทวีวงศ์อำเภอสามเงาจังหวัดตาก การจัดการเรียนรู้ด้วยการบรรยาย การเล่าเรื่อง สอนเนื้อหาวิชาตามประวัติศาสตร์กระแสหลัก การแผ่ระบาดไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19  ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เส้นทางการเดินทัพของพระนางจามเทวีวงศ์อำเภอสามเงาจังหวัดตาก นักเรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active learning เป็นการฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม การวางแผนเป็นขั้นตอน และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในคริสต์ศตวรรษที่ 21

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2544). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดตาก. (2562). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดตาก. หจก. ไอเดียกรุ๊ป ปริ้นติ้งฯ .

อัจฉรา ศรีพันธ์. (2561). การจัดการศึกษาบนฐานชีวิตและการจัดการศึกษาบนฐานชุมชน. กรุงทพมหานคร: แดแน็กซ์อินเตอร์คอร์เปอร์เรชั่นจำกัด.