แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

อมรวรรณ สุวรรณโฉม
พิมผกา ธรรมสิทธิ์
ชัชภูมิ สีชมภู

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันความต้องการและแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัย ประชากรได้แก่ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมนักวิชาการศึกษาหัวหน้าและครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กผู้แทนคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ปกครอง จำนวน 175 คน และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 9 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นและการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. สภาพปัจจุบันการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยภาพรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์ รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการกำกับติดตามและประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนและด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตามลำดับส่วนความต้องการจำเป็นการบริหารแบบมีส่วนร่วมภาพรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์ รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการกำกับติดตามและประเมินผล ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตามลำดับ
          2. แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน คณะครูและคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กร่วมกันพิจารณาเสนอแผนงานโครงการและงบประมาณเพื่อพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กสร้างเครือข่ายกับชุมชนให้สนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานครูและคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมระดมทรัพยากรทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประสานงานบุคลากรในท้องถิ่นที่มีความรู้ ความสามารถเข้ามาสอนเสริมและร่วมกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมด้านการมีส่วนร่วมในการได้รับผลประโยชน์คณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและติดตามผลการดำเนินการจัดการศึกษาทุกด้านและด้านการมีส่วนร่วมในการกำกับติดตามและประเมินผลผู้ปกครอง ชุมชน ครูและบุคลากรทางการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กกำกับติดตามและประเมินผลการทำงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกปีการศึกษาและนำข้อมูลจากผลการประเมินไปปรับปรุงแผนพัฒนาให้บรรลุผลตามเป้าหมายจนเป็นที่ยอมรับของชุมชน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา เพชรชิต. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขม้า อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

กจิตตา ชินพิทักษ์วัฒนา. (2557). การประเมินความต้องการจำเป็นของผู้ดูแลเด็กในการอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยทารกและวัยเตาะแตะในสถานรับเลี้ยงเด็ก.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธัญลักษณ์ นวลศรี. (2557). การระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

เพ็ญโสภา เทพปันและคณะ. (2558). สภาพและปัญหาการดำเนินการบริหารงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. 8 (2), 1892-1905.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา http://www.dla.go.th/upload/ ebook/column/2017/4/2199_5930.pdf

จิรัชฌา มีบ้านเกิ้ง. (2561). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ภายในเขตพื้นที่อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.วิชาการปกครองท้องถิ่น. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2562). การสนทนากลุ่ม : เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 12 (1), 17–30.

เบญจพร ต่ำคำดี. (2562). แนวทางการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

หัสนัย เจนจบ. (2563). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564-2570 . กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.